วันอาทิตย์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
ยินดีต้อนรับ
สวัสดีครับ นัก้รียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนสายธรรมจันทร์ ทุกคน ครูสร้างบล็อคนี้ขึ้นเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับนักเรียนที่ต้องการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม ซึ่งครูหวังว่าจะมีประโยชน์ต่อการเรียนของนักเรียนครับ
วันเสาร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
ในหลวงกับการศึกษาไทย
ชนชาติไทยเป็นชาติที่มีพระมหากษัตริย์ปกครองมายาวนานและต่อเนื่อง แม้จะมีการผลัดเปลี่ยนราชวงศ์บ้างก็ไม่เคยว่างกษัตริย์ และทุกพระองค์ก็ได้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจเพื่อบ้านเมืองและประชาชนต่างๆ กันไป ตามความจำเป็นหรือเหมาะสมกับยุคสมัยนั้นๆ ไพร่บ้านพลเมืองเองก็มีความจงรักภักดีและเทิดทูนพระมหากษัตริย์มาโดยตลอด และเนื่องในมหามงคลวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๙ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์จะครบ ๖๐ ปี ณ วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙ อันจะนับได้ว่าทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดในโลกด้วย เมื่อเทียบกับบรรดากษัตริย์ที่ทรงเป็นประมุขในปัจจุบัน สถานีวิทยุ อสมท. จึงจะขออัญเชิญพระราชกรณียกิจนานัปการอันกอปรด้วยพระปรีชาสามารถและพระเมตตาที่ได้ทรงปฏิบัติเพื่อประโยชน์สุขของพสกนิกรชาวไทย ตลอดจนความจงรักภักดีที่ทวยราษฎรมีต่อพระองค์มาเผยแพร่เพื่อเฉลิมพระเกียรติตลอดปีแห่งการเฉลิมฉลอง ดังต่อไปนี้
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับการศึกษาของไทย
การให้การศึกษา ให้ความรอบรู้แก่ประชาราษฎร นับเป็นพระราชภารกิจหนึ่งที่พระมหากษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ทุกพระองค์ได้ทรงบำเพ็ญสืบทอดตลอดมา และแม้ในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอันเป็นรัชกาลที่ ๙ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ จะได้มีรัฐบาลเข้ามาดูแลจัดการในเรื่องการศึกษาของชาติแล้วก็ตาม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็มิได้ทรงนิ่งเฉยต่อปัญหาที่ทรงพบระหว่างเสด็จฯ เยี่ยมราษฎรในท้องถิ่นทุรกันดารในข้อที่ว่ายังมีราษฎรได้รับบริการทางการศึกษาไม่เพียงพออยู่ นอกเหนือไปจากความขาดแคลนและขัดสนในด้านอื่น ๆ เช่นการสาธารณสุข ปัญหาที่ดินทำกิน ขาดน้ำจะบริโภคอุปโภคและทำการเกษตร ขาดความรู้ในการประกอบอาชีพ เป็นต้น นี่เองเราจึงพบว่าในบรรดาพระราชกรณียกิจที่ทรงปฏิบัติเพื่อการพัฒนามากหลายนั้น ทรงให้ความสำคัญกับเรื่องการศึกษาเป็นอย่างมาก เพราะถ้าประชาชนมีความรู้ ก็จะสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ดังพระบรมราโชวาทที่ได้พระราชทานไว้ในหลายโอกาส และหลายสถาบันที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาที่จะได้อัญเชิญมาบางส่วนดังนี้
“ยังมีราษฎรอีกเป็นส่วนใหญ่ที่ขัดสนและพึ่งตนเองไม่ได้… ความขัดสนของราษฎรดังกล่าว เกิดเพราะเขาไม่สามารถใช้กำลังความคิด กำลังแรง ตลอดจนทุนรอนของเขาให้เกิดประโยชน์เท่าที่ควรได้ ราษฎรของเราต้องการความช่วยเหลือ คือความช่วยเหลือที่จะทำให้เขาสามารถพึ่งตนเองได้ ยกฐานะขึ้นด้วยตนเองได้”
พระราชทานแก่นิสิตของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่เข้ารับพระราชทานปริญญา เมื่อวันที่ ๑๐ กรกฎาคมพ.ศ. ๒๕๑๐
ในวันที่ ๑๒ ของเดือนธันวาคม ปีเดียวกันนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังได้พระราชทานพระบรมราโชวาทแก่นักศึกษาของวิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตรในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ถึงความสำคัญของการศึกษาอีก ดังความตอนหนึ่งว่า “งานด้านการศึกษาเป็นงานสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของชาติ เพราะความเจริญและความเสื่อมของชาตินั้น ขึ้นอยู่กับการศึกษาของพลเมืองเป็นข้อใหญ่ตามข้อเท็จจริงที่ทราบกันดีแล้ว ระยะนี้บ้านเมืองของเรามีพลเมืองเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งมีสัญญาณบางอย่างเกิดขึ้นด้วยว่าพลเมืองของเราบางส่วนเสื่อมทรามลงไปในความประพฤติและจิตใจ ซึ่งเป็นอาการที่น่าวิตก ถ้าหากยังคงเป็นอยู่ต่อไปเราอาจจะเอาตัวไม่รอด ปรากฏการณ์เช่นนี้ นอกจากเหตุอื่นแล้วต้องมีเหตุมาจากการจัดการศึกษาด้วยอย่างแน่นอน….. เราต้องจัดงานด้านการศึกษาให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น….”
พระบรมราโชวาทอันแสดงถึงพระราชปณิธานที่จะพัฒนาพลเมืองให้มีคุณภาพ สามารถพึ่งพาตนเองได้ ด้วยการให้การศึกษานี้ นับเป็นแนวทางปฏิบัติทั้งในการให้การศึกษาและทำงานอย่างครบถ้วน ก่อให้เกิดโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริมากมาย ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาการศึกษา ทั้งในระบบโรงเรียนและการศึกษานอกโรงเรียน
พระมหากรุณาธิคุณต่อการศึกษาในระบบโรงเรียน
- ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงเรียนจิตรลดาขึ้นสำหรับพระราชโอรสและพระราชธิดา รวมถึงบุตรข้าราชบริพารในพระราชวัง ทั้งเปิดโอกาสให้นักเรียนทั่วไปได้เข้าร่วมเรียนด้วย ถือเป็นโรงเรียนตัวอย่างในการทดลองการเรียนการสอน โดยได้ทรงเอาพระทัยใส่ติดตามผลการเรียนการสอนด้วยพระองค์เอง
- ได้พระราชทานพระราชดำริให้ตั้งโรงเรียนขึ้นในพื้นที่ห่างไกลการคมนาคมตามภูมิภาคต่างๆ เพื่อให้เด็ก และเยาวชนที่ด้อยโอกาสทางการศึกษาได้มีโอกาสเล่าเรียนเท่าเทียมกับเยาวชนในท้องถิ่นอื่น โดยมีแม่ทัพภาคเป็นแกนนำในการก่อสร้างในพื้นที่ทหาร ได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ซื้อวัสดุก่อสร้างและพระราชทานชื่อโรงเรียนว่า “ร่มเกล้า” โดยแห่งแรกสร้างที่บ้านหนองแคนอ. นาแก จังหวัดนครพนม เมื่อปี ๒๕๑๕ หลังจากนั้นได้ขยายไปอีกหลายจังหวัด นอกจากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนียังได้พระราชทานพระราชทรัพย์ร่วมสร้างโรงเรียนกับกองกำกับการตำรวจตระเวณชายแดนเขต ๕ ค่ายดารารัศมีที่ได้ริเริ่มจัดตั้งเพื่อสอนหนังสือให้แก่ชาวเขาและประชาชนไว้ก่อนหน้านั้นอีกด้วย โรงเรียนที่ตำรวจตระเวณชายแดนดำเนินการนี้จะมีชื่อแตกต่างกันไปตามแหล่งที่มาของเงินก่อสร้างและความช่วยเหลือ จึงมีทั้งโรงเรียน ตชด.บำรุง, โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์, โรงเรียนเจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์, โรงเรียนเจ้าแม่หลวงอุปถัมภ์, โรงเรียนในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี, โรงเรียนมิตรมวลชน, โรงเรียนจุฬา-ธรรมศาสตร์ ,โรงเรียนทหารม้าอนุสรณ์เป็นต้น
- ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณให้จัดตั้งและทำนุบำรุงโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษาขึ้นอีกหลายโรงเรียนตามวัตถุประสงค์ต่างๆกัน เช่น โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ สำหรับเด็กและเยาวชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสาธารณภัย และเป็นกำพร้า กับโรงเรียนสงเคราะห์เด็กยากจนสำหรับเด็กที่ขาดแคลนเด็กที่การเรียนอ่อนไม่สามารถเข้าเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาอื่น เป็นต้น
- ทรงรับโรงเรียนทั้งของรัฐและเอกชนไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ อันหมายถึงทรงให้การช่วยเหลืออุปถัมภ์ พระราชทานพระราชทรัพย์ ทรงให้คำแนะนำ และเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเพื่อพระราชทานกำลังใจแก่ครูและนักเรียนอีกหลายโรงเรียนได้แก่ โรงเรียนราชวินิต โรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัยเป็นต้น
- การพระราชทานความช่วยเหลือในทางการศึกษาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้แก่ชาวไทยนั้นมิได้มีความจำกัดอยู่ที่การศึกษาขั้นพื้นฐานคือประถมศึกษาและมัธยมศึกษาเท่านั้น หากแต่ทรงมีพระปรีชาญาณที่กว้างไกลสุดประมาณ ทรงตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องนำพาพลเมืองให้ก้าวทันวิทยาการสมัยใหม่ โดยจะต้องส่งคนไปศึกษาและดูงานในประเทศที่พัฒนาแล้ว เพื่อจะได้นำความรู้มาเผยแพร่ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาวิทยาการต่างๆ ในประเทศ ให้มีความเจริญก้าวหน้าทัดเทียมชาติอื่น จึงได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ก่อตั้งกองทุนการศึกษาขึ้นหลายทุน อาทิ ทุนอานันทมหิดล ทุนส่งเสริมบัณฑิต และ ทุนเล่าเรียนหลวง เป็นต้น โดยแต่ละทุนนั้นก็มีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันไป
- ทรงสนับสนุนการจัดทำตำราด้วยการก่อตั้งโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๑ โดยมีพระราชประสงค์ที่จะให้เยาวชนมีสารานุกรมฯใช้เป็นตำราประกอบการเรียน และบุคคลอื่นๆ ทุกวัยก็สามารถอ่านรู้เรื่องและเข้าใจได้ด้วยตัวเอง นี่จะเป็นการช่วยเสริมให้เยาวชนไทยมีพื้นฐานเกี่ยวกับวิทยาการสาขาต่างๆ ทั้งด้านวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์อันเป็นฐานแห่งความก้าวหน้าและเป็นประโยชน์ต่อชีวิตความเป็นอยู่ของคนทุกคน
พระมหากรุณาธิคุณต่อการศึกษานอกระบบโรงเรียน
ความหมายที่สำคัญของการศึกษาคือกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาวิชาการและประสบการณ์แก่ผู้เรียนให้มีความรู้ ความคิด สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างสงบสุข และแก้ปัญหาได้ และการศึกษามิได้เกิดขึ้นเฉพาะในโรงเรียน หากแต่ขยายวงกว้างออกไปสู่การจัดโครงการต่างๆ ด้วยวิธีการและจุดประสงค์ที่สอดคล้องกับความต้องการของชีวิต การศึกษาเช่นนี้เป็นของแท้ที่เกิดจากความเมตตาและห่วงใยของครูผู้มุ่งช่วยเหลือศิษย์
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระเมตตาหาวิธีถ่ายทอด สรรพวิทยาการที่ครอบคลุมหลายสาขาผ่านโครงการตามพระราชประสงค์ที่ได้ทรงศึกษาข้อมูลทุกด้านไว้แล้วอย่างรอบคอบ ด้วยการทรงเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน และสาธิตให้เกิดความรู้ ความเข้าใจในปัญหา และวิธีการแก้ไขที่ถูกต้องอันจะทำให้ทุกคนสามารถพึ่งตัวเองได้อย่างยั่งยืน ดังจะได้อัญเชิญบางโครงการมาให้เห็นได้ชัดเจนดังนี้
โครงการปลูกป่า ป่าไม้เป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการรักษาความชุ่มชื้น และความสมดุลของธรรมชาติ การปล่อยให้ป่าไม้ถูกทำลายจะยังความเสียหายมหาศาลในภายหลัง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้หาพันธุ์ไม้ยืนต้นทั้งจากในและนอกประเทศมาทดลองปลูก เพื่อหาพันธุ์ที่เหมาะสมไปปลูกทดแทนป่าที่ถูกทำลาย และเพื่อปรับปรุงแหล่งต้นน้ำ พระราชกรณียกิจและการดำเนินกิจกรรมตามพระราชประสงค์นี้ได้ก่อให้เกิดโครงการที่มีลักษณะการดำเนินงานโดยตรง และโครงการที่มีกิจกรรมต่อเนื่องอีกหลายโครงการ เช่น โครงการหลวงพัฒนาชาวเขา ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการ ทำลายป่าไม้ของชาวเขาและส่งเสริมการปลูกป่าทดแทน ปลูกพืชอื่นแทนการปลูกฝิ่น ฝึกอบรมชาวเขาให้เข้าใจหลักวิชาการเกษตรในที่สูง ส่งเสริมด้านการศึกษา อนามัย และการวางแผนครอบครัวแก่ชาวเขา ทั้งดำเนินการวิจัยทดลองพันธุ์พืชและสัตว์ รวมถึงศึกษาด้านการขนส่งและการตลาดด้วย อีกโครงการหนึ่งได้แก่โครงการในพระบรมราชานุเคราะห์ชาวเขา “สวนสองแสน” คำว่า “สวนสองแสน” นี้สืบเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จัดซื้อที่ดินด้วยเงินสองแสนบาท สวนสองแสนนี้มีธรรมชาติที่งดงาม อากาศเย็นสบาย แต่สภาพดินเลวจนปลูกพืชไม่ได้ผล จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้นักวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ทดลองปลูกพืชผลไม้เมืองหนาวเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๒ ทั้งยังให้นักวิชาการศึกษาหาข้อมูลในการปลูกพืชเมืองหนาวเพื่อประโยชน์ของเกษตรกรไทยในอนาคต ปรากฏว่าประสบความสำเร็จด้วยดี เช่นนี้จึงจะเห็นได้ว่าโครงการปลูกป่าและโครงการต่อเนื่องนี้เป็น การสอนให้ประชาชนเรียนรู้การอนุรักษ์ป่าไม้ด้วยการเลิกทำลายป่าและปลูกป่าทดแทนด้วยวิธีปฏิบัติจริง
โครงการพัฒนาที่ดิน ปี ๒๕๐๗ เป็นปีที่เริ่มโครงการพัฒนาที่ดินตามพระราชประสงค์ (สืบเนื่องมาจากราษฎรขาดที่ดินทำกิน และสภาพดินเพาะปลูกไม่ได้ผล) อันเป็นโครงการที่มีการวางแผนอย่างเป็นระบบ นับตั้งแต่วิจัยค้นคว้าหาข้อมูลจากการทดลองปลูกพืช พัฒนาแหล่งน้ำ สร้างสิ่งที่จำเป็นอื่นๆ แล้วให้เกษตกรจำนวนหนึ่งทดลองเข้าทำการเพาะปลูก จากนั้นขยายที่ดินให้ราษฎรที่ต้องการช่วยตัวเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกันเข้าทำกินโดยจัดสรรที่ดินให้เพียงพอตามแผนผังและกฏเกณฑ์ที่วางไว้ แล้วจัดตั้งหมู่บ้าน ตั้งสหกรณ์การเกษตรขึ้นเพื่อประโยชน์ในการประกอบอาชีพของตน โดยสหกรณ์จะเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นส่วนรวมเพื่อรักษาไม่ให้ที่ดินที่ได้เข้าทำกินแล้วหลุดมือไปได้ เกษตรกรผู้เป็นสมาชิกจะได้รับสิทธิทำกินในที่ดินที่ได้รับจัดสรรตลอดไปชั่วลูกชั่วหลาน มีการพัฒนาหมู่บ้านด้วยการสร้างถนน สร้างสิ่งสาธารณูปโภค พัฒนาการปลูกพืช ปลูกหญ้า การบำรุงดิน การเลี้ยงโคพันธุ์ การใช้ปุ๋ยคอกและทำปุ๋ยหมักใช้แทนปุ๋ยเคมี พร้อมทั้งฝึกสอนวิชาชีพที่คนในครอบครัวจะได้ทำในยามว่างด้วย
ผลของโครงการพัฒนาที่ดินตามพระราชประสงค์นี้ นอกจากจะทำให้เกษตรกรมีที่ดินทำกินแล้ว พวกเขายังได้เรียนรู้วิธีการเพิ่มผลผลิต ได้เห็นวิธีการแก้ปัญหาการทำการเกษตรด้วยหลักวิชาที่ถูกต้อง มีความสามารถที่จะประกอบอาชีพอย่างได้ผลด้วยตนเองสืบต่อไป จึงนับได้ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นผู้ทรงวางรากฐานการจัดการศึกษานอกโรงเรียนด้านการเกษตรแบบครบวงจรให้แก่ระบบการศึกษาของไทย
ที่ยกมานี้เป็นเพียงตัวอย่างอันน้อยนิดเมื่อเทียบกับโครงการตามพระราชประสงค์ โครงการตามพระราชดำริอีกนับพันโครงการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพากเพียรค้นคว้าทดลองแล้วจึงพระราชทานเพื่อการพัฒนาความเป็นอยู่ของประชาชนชาวไทย
พระร้อยรัดดวงใจไทยทั้งผอง
แม้กาลเวลาจะผ่านมาสองปีเศษ แต่ภาพของนักเรียนโรงเรียนวังไกลกังวลที่ได้มีโอกาสตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปทัศนศึกษาและเรียนรู้เรื่องราวต่างๆ จากสถานที่จริง ก็ยังคงประทับตา ประทับใจแก่ผู้ที่พบเห็นภาพนั้น แต่ผู้ที่ประทับใจที่สุดน่าจะได้แก่ตัวของนักเรียนผู้มีโอกาสตามเสด็จฯเอง น.ส. ทิพยวรรณ ศุภกิจถาวร นักเรียนชั้นมัธยมปีที่ ๕ โรงเรียนวังไกลกังวล ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์มติชนไว้ว่า “ มีโอกาสได้ตามเสด็จฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทั้งสามครั้ง ความรู้สึกทั้งสามครั้งไม่ต่างกันเลย ยังคงตื่นเต้น และรู้สึกตื้นตันทุกครั้ง ตนไม่เคยนึกว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ที่อยู่สูงสุด จะทรงมาเป็นครูและรับสั่งสอนตนอย่างใกล้ชิด เป็นความประทับใจอย่างที่สุดของชีวิต “ส้ม” มีโอกาสได้ตามเสด็จฯ ไปที่เขาเต่า ไปที่โครงการฝนหลวง และไปที่ปราณบุรี พระองค์ทรงเป็นครูที่รับสั่งสอนหลายอย่าง ในครั้งแรกที่มีโอกาสได้ตามเสด็จฯ พระองค์ท่านรับสั่งสอนเรื่องดิน ทรงใช้ศัพท์ง่ายๆ ทรงสอนพวกเราอย่างไม่ถือพระองค์เลย นักเรียนที่ตามเสด็จฯ ก็ก้มหน้าก้มตาจดในสิ่งที่พระองค์รับสั่งสอนกันยกใหญ่ สักพักในหลวงทรงถามว่า ที่จดกันน่ะเข้าใจหรือเปล่า แล้วก็ทรงยิ้ม พระองค์ทรงรับสั่งสอนอยู่นานหลายชั่วโมงโดยที่พระองค์ไม่ทรงเหน็ดเหนื่อยเลย น.ส.ทิพยวรรณบอกด้วยว่าการได้ตามเสด็จฯ ทำให้ตนได้เห็นการทำงานที่ทรงเหน็ดเหนื่อยของพระองค์ ไม่ว่าจะดึกดื่น ค่ำคืน หรือพระองค์ทรงเหน็ดเหนื่อยแค่ไหน แต่ถ้างานของพระองค์ท่านทรงทำอยู่ ยังไม่เสร็จ พระองค์ท่านจะทรงทำให้เสร็จในที่สุด พระองค์ท่านทรงไม่ผลัดวันประกันพรุ่ง ตรงนี้ตนได้นำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันด้วย ที่สำคัญการที่ได้มาเรียนที่โรงเรียนวังไกลกังวล ซึ่งเป็นโรงเรียนของพระองค์ท่าน ตนจึงตั้งใจไว้แล้วว่าจะตั้งใจ เรียน และจะเป็นคนดีให้สมกับที่พระองค์พระราชทานโอกาสให้พวกเรามีโรงเรียนเรียน”
เรียบเรียงจาก - หนังสือพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหาราช กับการศึกษาของไทย ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี
- มติชน ๕ ธันวาคม ๒๕๔๖
พระบรมราโชวาท
“…ความรู้นั้นสำคัญยิ่งใหญ่ เพราะเป็นปัจจัยให้เกิดความฉลาดสามารถ และความเจริญก้าวหน้า มนุษย์จึงใฝ่ศึกษากันอย่างไม่รู้จบสิ้น แต่เมื่อพิเคราะห์ดูแล้ว การเรียนความรู้แม้มากมายเพียงใด บางทีก็ไม่ช่วยให้ฉลาดหรือเจริญได้เท่าไรนัก ถ้าหากเรียนไม่ถูกถ้วน ไม่รู้จริงแท้ การศึกษาหาความรู้จึงสำคัญตรงที่ว่า ต้องศึกษาเพื่อให้เกิด “ความฉลาดรู้” คือรู้แล้วสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้จริงๆ โดยไม่เป็นพิษ เป็นโทษ การศึกษาเพื่อความฉลาดรู้ มีข้อปฏิบัติที่น่าจะยึดเป็นหลักอย่างน้อยสองประการ ประการแรกเมื่อจะศึกษาสิ่งใดเรื่องใดให้รู้จริง ควรจะได้ศึกษาให้ตลอดครบถ้วน ทุกแง่ทุกมุม ไม่ใช่เรียนรู้แต่เพียงบางส่วนบางตอน หรือเพ่งเล็งเฉพาะแต่เพียงบางแง่บางมุม อีกประการหนึ่งซึ่งจะต้องปฏิบัติประกอบพร้อมกันไปด้วยเสมอ คือต้องพิจารณาศึกษาเรื่องนั้น ๆ ด้วยความคิดจิตใจที่ตั้งมั่นเป็นปรกติ และเที่ยงตรง เป็นกลาง ไม่ยอมให้รู้เห็นและเข้าใจตามอำนาจ ความเหนี่ยวนำของอคติ ไม่ว่าจะเป็นอคติฝ่ายชอบหรือฝ่ายชัง มิฉะนั้นความรู้ที่เกิดขึ้นจะไม่เป็นความรู้แท้ หากแต่เป็นความรู้ที่ถูกอำพรางไว้ หรือที่คลาดเคลื่อนวิปริตไปต่างๆ จะนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์จริงๆ โดยปราศจากโทษไม่ได้…”
พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๒๔
ข้อมูลจาก : บทความพิเศษประกอบรายการของสถานีวิทยุ อสมท เรื่อง “ในหลวงของเรา” ผลิตโดย งานบริการการผลิต ส่วนสนับสนุนการผลิตวิทยุ ฝ่ายออกอากาศวิทยุกรุงเทพ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับการศึกษาของไทย
การให้การศึกษา ให้ความรอบรู้แก่ประชาราษฎร นับเป็นพระราชภารกิจหนึ่งที่พระมหากษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ทุกพระองค์ได้ทรงบำเพ็ญสืบทอดตลอดมา และแม้ในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอันเป็นรัชกาลที่ ๙ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ จะได้มีรัฐบาลเข้ามาดูแลจัดการในเรื่องการศึกษาของชาติแล้วก็ตาม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็มิได้ทรงนิ่งเฉยต่อปัญหาที่ทรงพบระหว่างเสด็จฯ เยี่ยมราษฎรในท้องถิ่นทุรกันดารในข้อที่ว่ายังมีราษฎรได้รับบริการทางการศึกษาไม่เพียงพออยู่ นอกเหนือไปจากความขาดแคลนและขัดสนในด้านอื่น ๆ เช่นการสาธารณสุข ปัญหาที่ดินทำกิน ขาดน้ำจะบริโภคอุปโภคและทำการเกษตร ขาดความรู้ในการประกอบอาชีพ เป็นต้น นี่เองเราจึงพบว่าในบรรดาพระราชกรณียกิจที่ทรงปฏิบัติเพื่อการพัฒนามากหลายนั้น ทรงให้ความสำคัญกับเรื่องการศึกษาเป็นอย่างมาก เพราะถ้าประชาชนมีความรู้ ก็จะสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ดังพระบรมราโชวาทที่ได้พระราชทานไว้ในหลายโอกาส และหลายสถาบันที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาที่จะได้อัญเชิญมาบางส่วนดังนี้
“ยังมีราษฎรอีกเป็นส่วนใหญ่ที่ขัดสนและพึ่งตนเองไม่ได้… ความขัดสนของราษฎรดังกล่าว เกิดเพราะเขาไม่สามารถใช้กำลังความคิด กำลังแรง ตลอดจนทุนรอนของเขาให้เกิดประโยชน์เท่าที่ควรได้ ราษฎรของเราต้องการความช่วยเหลือ คือความช่วยเหลือที่จะทำให้เขาสามารถพึ่งตนเองได้ ยกฐานะขึ้นด้วยตนเองได้”
พระราชทานแก่นิสิตของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่เข้ารับพระราชทานปริญญา เมื่อวันที่ ๑๐ กรกฎาคมพ.ศ. ๒๕๑๐
ในวันที่ ๑๒ ของเดือนธันวาคม ปีเดียวกันนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังได้พระราชทานพระบรมราโชวาทแก่นักศึกษาของวิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตรในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ถึงความสำคัญของการศึกษาอีก ดังความตอนหนึ่งว่า “งานด้านการศึกษาเป็นงานสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของชาติ เพราะความเจริญและความเสื่อมของชาตินั้น ขึ้นอยู่กับการศึกษาของพลเมืองเป็นข้อใหญ่ตามข้อเท็จจริงที่ทราบกันดีแล้ว ระยะนี้บ้านเมืองของเรามีพลเมืองเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งมีสัญญาณบางอย่างเกิดขึ้นด้วยว่าพลเมืองของเราบางส่วนเสื่อมทรามลงไปในความประพฤติและจิตใจ ซึ่งเป็นอาการที่น่าวิตก ถ้าหากยังคงเป็นอยู่ต่อไปเราอาจจะเอาตัวไม่รอด ปรากฏการณ์เช่นนี้ นอกจากเหตุอื่นแล้วต้องมีเหตุมาจากการจัดการศึกษาด้วยอย่างแน่นอน….. เราต้องจัดงานด้านการศึกษาให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น….”
พระบรมราโชวาทอันแสดงถึงพระราชปณิธานที่จะพัฒนาพลเมืองให้มีคุณภาพ สามารถพึ่งพาตนเองได้ ด้วยการให้การศึกษานี้ นับเป็นแนวทางปฏิบัติทั้งในการให้การศึกษาและทำงานอย่างครบถ้วน ก่อให้เกิดโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริมากมาย ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาการศึกษา ทั้งในระบบโรงเรียนและการศึกษานอกโรงเรียน
พระมหากรุณาธิคุณต่อการศึกษาในระบบโรงเรียน
- ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงเรียนจิตรลดาขึ้นสำหรับพระราชโอรสและพระราชธิดา รวมถึงบุตรข้าราชบริพารในพระราชวัง ทั้งเปิดโอกาสให้นักเรียนทั่วไปได้เข้าร่วมเรียนด้วย ถือเป็นโรงเรียนตัวอย่างในการทดลองการเรียนการสอน โดยได้ทรงเอาพระทัยใส่ติดตามผลการเรียนการสอนด้วยพระองค์เอง
- ได้พระราชทานพระราชดำริให้ตั้งโรงเรียนขึ้นในพื้นที่ห่างไกลการคมนาคมตามภูมิภาคต่างๆ เพื่อให้เด็ก และเยาวชนที่ด้อยโอกาสทางการศึกษาได้มีโอกาสเล่าเรียนเท่าเทียมกับเยาวชนในท้องถิ่นอื่น โดยมีแม่ทัพภาคเป็นแกนนำในการก่อสร้างในพื้นที่ทหาร ได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ซื้อวัสดุก่อสร้างและพระราชทานชื่อโรงเรียนว่า “ร่มเกล้า” โดยแห่งแรกสร้างที่บ้านหนองแคนอ. นาแก จังหวัดนครพนม เมื่อปี ๒๕๑๕ หลังจากนั้นได้ขยายไปอีกหลายจังหวัด นอกจากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนียังได้พระราชทานพระราชทรัพย์ร่วมสร้างโรงเรียนกับกองกำกับการตำรวจตระเวณชายแดนเขต ๕ ค่ายดารารัศมีที่ได้ริเริ่มจัดตั้งเพื่อสอนหนังสือให้แก่ชาวเขาและประชาชนไว้ก่อนหน้านั้นอีกด้วย โรงเรียนที่ตำรวจตระเวณชายแดนดำเนินการนี้จะมีชื่อแตกต่างกันไปตามแหล่งที่มาของเงินก่อสร้างและความช่วยเหลือ จึงมีทั้งโรงเรียน ตชด.บำรุง, โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์, โรงเรียนเจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์, โรงเรียนเจ้าแม่หลวงอุปถัมภ์, โรงเรียนในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี, โรงเรียนมิตรมวลชน, โรงเรียนจุฬา-ธรรมศาสตร์ ,โรงเรียนทหารม้าอนุสรณ์เป็นต้น
- ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณให้จัดตั้งและทำนุบำรุงโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษาขึ้นอีกหลายโรงเรียนตามวัตถุประสงค์ต่างๆกัน เช่น โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ สำหรับเด็กและเยาวชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสาธารณภัย และเป็นกำพร้า กับโรงเรียนสงเคราะห์เด็กยากจนสำหรับเด็กที่ขาดแคลนเด็กที่การเรียนอ่อนไม่สามารถเข้าเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาอื่น เป็นต้น
- ทรงรับโรงเรียนทั้งของรัฐและเอกชนไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ อันหมายถึงทรงให้การช่วยเหลืออุปถัมภ์ พระราชทานพระราชทรัพย์ ทรงให้คำแนะนำ และเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเพื่อพระราชทานกำลังใจแก่ครูและนักเรียนอีกหลายโรงเรียนได้แก่ โรงเรียนราชวินิต โรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัยเป็นต้น
- การพระราชทานความช่วยเหลือในทางการศึกษาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้แก่ชาวไทยนั้นมิได้มีความจำกัดอยู่ที่การศึกษาขั้นพื้นฐานคือประถมศึกษาและมัธยมศึกษาเท่านั้น หากแต่ทรงมีพระปรีชาญาณที่กว้างไกลสุดประมาณ ทรงตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องนำพาพลเมืองให้ก้าวทันวิทยาการสมัยใหม่ โดยจะต้องส่งคนไปศึกษาและดูงานในประเทศที่พัฒนาแล้ว เพื่อจะได้นำความรู้มาเผยแพร่ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาวิทยาการต่างๆ ในประเทศ ให้มีความเจริญก้าวหน้าทัดเทียมชาติอื่น จึงได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ก่อตั้งกองทุนการศึกษาขึ้นหลายทุน อาทิ ทุนอานันทมหิดล ทุนส่งเสริมบัณฑิต และ ทุนเล่าเรียนหลวง เป็นต้น โดยแต่ละทุนนั้นก็มีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันไป
- ทรงสนับสนุนการจัดทำตำราด้วยการก่อตั้งโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๑ โดยมีพระราชประสงค์ที่จะให้เยาวชนมีสารานุกรมฯใช้เป็นตำราประกอบการเรียน และบุคคลอื่นๆ ทุกวัยก็สามารถอ่านรู้เรื่องและเข้าใจได้ด้วยตัวเอง นี่จะเป็นการช่วยเสริมให้เยาวชนไทยมีพื้นฐานเกี่ยวกับวิทยาการสาขาต่างๆ ทั้งด้านวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์อันเป็นฐานแห่งความก้าวหน้าและเป็นประโยชน์ต่อชีวิตความเป็นอยู่ของคนทุกคน
พระมหากรุณาธิคุณต่อการศึกษานอกระบบโรงเรียน
ความหมายที่สำคัญของการศึกษาคือกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาวิชาการและประสบการณ์แก่ผู้เรียนให้มีความรู้ ความคิด สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างสงบสุข และแก้ปัญหาได้ และการศึกษามิได้เกิดขึ้นเฉพาะในโรงเรียน หากแต่ขยายวงกว้างออกไปสู่การจัดโครงการต่างๆ ด้วยวิธีการและจุดประสงค์ที่สอดคล้องกับความต้องการของชีวิต การศึกษาเช่นนี้เป็นของแท้ที่เกิดจากความเมตตาและห่วงใยของครูผู้มุ่งช่วยเหลือศิษย์
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระเมตตาหาวิธีถ่ายทอด สรรพวิทยาการที่ครอบคลุมหลายสาขาผ่านโครงการตามพระราชประสงค์ที่ได้ทรงศึกษาข้อมูลทุกด้านไว้แล้วอย่างรอบคอบ ด้วยการทรงเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน และสาธิตให้เกิดความรู้ ความเข้าใจในปัญหา และวิธีการแก้ไขที่ถูกต้องอันจะทำให้ทุกคนสามารถพึ่งตัวเองได้อย่างยั่งยืน ดังจะได้อัญเชิญบางโครงการมาให้เห็นได้ชัดเจนดังนี้
โครงการปลูกป่า ป่าไม้เป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการรักษาความชุ่มชื้น และความสมดุลของธรรมชาติ การปล่อยให้ป่าไม้ถูกทำลายจะยังความเสียหายมหาศาลในภายหลัง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้หาพันธุ์ไม้ยืนต้นทั้งจากในและนอกประเทศมาทดลองปลูก เพื่อหาพันธุ์ที่เหมาะสมไปปลูกทดแทนป่าที่ถูกทำลาย และเพื่อปรับปรุงแหล่งต้นน้ำ พระราชกรณียกิจและการดำเนินกิจกรรมตามพระราชประสงค์นี้ได้ก่อให้เกิดโครงการที่มีลักษณะการดำเนินงานโดยตรง และโครงการที่มีกิจกรรมต่อเนื่องอีกหลายโครงการ เช่น โครงการหลวงพัฒนาชาวเขา ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการ ทำลายป่าไม้ของชาวเขาและส่งเสริมการปลูกป่าทดแทน ปลูกพืชอื่นแทนการปลูกฝิ่น ฝึกอบรมชาวเขาให้เข้าใจหลักวิชาการเกษตรในที่สูง ส่งเสริมด้านการศึกษา อนามัย และการวางแผนครอบครัวแก่ชาวเขา ทั้งดำเนินการวิจัยทดลองพันธุ์พืชและสัตว์ รวมถึงศึกษาด้านการขนส่งและการตลาดด้วย อีกโครงการหนึ่งได้แก่โครงการในพระบรมราชานุเคราะห์ชาวเขา “สวนสองแสน” คำว่า “สวนสองแสน” นี้สืบเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จัดซื้อที่ดินด้วยเงินสองแสนบาท สวนสองแสนนี้มีธรรมชาติที่งดงาม อากาศเย็นสบาย แต่สภาพดินเลวจนปลูกพืชไม่ได้ผล จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้นักวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ทดลองปลูกพืชผลไม้เมืองหนาวเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๒ ทั้งยังให้นักวิชาการศึกษาหาข้อมูลในการปลูกพืชเมืองหนาวเพื่อประโยชน์ของเกษตรกรไทยในอนาคต ปรากฏว่าประสบความสำเร็จด้วยดี เช่นนี้จึงจะเห็นได้ว่าโครงการปลูกป่าและโครงการต่อเนื่องนี้เป็น การสอนให้ประชาชนเรียนรู้การอนุรักษ์ป่าไม้ด้วยการเลิกทำลายป่าและปลูกป่าทดแทนด้วยวิธีปฏิบัติจริง
โครงการพัฒนาที่ดิน ปี ๒๕๐๗ เป็นปีที่เริ่มโครงการพัฒนาที่ดินตามพระราชประสงค์ (สืบเนื่องมาจากราษฎรขาดที่ดินทำกิน และสภาพดินเพาะปลูกไม่ได้ผล) อันเป็นโครงการที่มีการวางแผนอย่างเป็นระบบ นับตั้งแต่วิจัยค้นคว้าหาข้อมูลจากการทดลองปลูกพืช พัฒนาแหล่งน้ำ สร้างสิ่งที่จำเป็นอื่นๆ แล้วให้เกษตกรจำนวนหนึ่งทดลองเข้าทำการเพาะปลูก จากนั้นขยายที่ดินให้ราษฎรที่ต้องการช่วยตัวเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกันเข้าทำกินโดยจัดสรรที่ดินให้เพียงพอตามแผนผังและกฏเกณฑ์ที่วางไว้ แล้วจัดตั้งหมู่บ้าน ตั้งสหกรณ์การเกษตรขึ้นเพื่อประโยชน์ในการประกอบอาชีพของตน โดยสหกรณ์จะเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นส่วนรวมเพื่อรักษาไม่ให้ที่ดินที่ได้เข้าทำกินแล้วหลุดมือไปได้ เกษตรกรผู้เป็นสมาชิกจะได้รับสิทธิทำกินในที่ดินที่ได้รับจัดสรรตลอดไปชั่วลูกชั่วหลาน มีการพัฒนาหมู่บ้านด้วยการสร้างถนน สร้างสิ่งสาธารณูปโภค พัฒนาการปลูกพืช ปลูกหญ้า การบำรุงดิน การเลี้ยงโคพันธุ์ การใช้ปุ๋ยคอกและทำปุ๋ยหมักใช้แทนปุ๋ยเคมี พร้อมทั้งฝึกสอนวิชาชีพที่คนในครอบครัวจะได้ทำในยามว่างด้วย
ผลของโครงการพัฒนาที่ดินตามพระราชประสงค์นี้ นอกจากจะทำให้เกษตรกรมีที่ดินทำกินแล้ว พวกเขายังได้เรียนรู้วิธีการเพิ่มผลผลิต ได้เห็นวิธีการแก้ปัญหาการทำการเกษตรด้วยหลักวิชาที่ถูกต้อง มีความสามารถที่จะประกอบอาชีพอย่างได้ผลด้วยตนเองสืบต่อไป จึงนับได้ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นผู้ทรงวางรากฐานการจัดการศึกษานอกโรงเรียนด้านการเกษตรแบบครบวงจรให้แก่ระบบการศึกษาของไทย
ที่ยกมานี้เป็นเพียงตัวอย่างอันน้อยนิดเมื่อเทียบกับโครงการตามพระราชประสงค์ โครงการตามพระราชดำริอีกนับพันโครงการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพากเพียรค้นคว้าทดลองแล้วจึงพระราชทานเพื่อการพัฒนาความเป็นอยู่ของประชาชนชาวไทย
พระร้อยรัดดวงใจไทยทั้งผอง
แม้กาลเวลาจะผ่านมาสองปีเศษ แต่ภาพของนักเรียนโรงเรียนวังไกลกังวลที่ได้มีโอกาสตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปทัศนศึกษาและเรียนรู้เรื่องราวต่างๆ จากสถานที่จริง ก็ยังคงประทับตา ประทับใจแก่ผู้ที่พบเห็นภาพนั้น แต่ผู้ที่ประทับใจที่สุดน่าจะได้แก่ตัวของนักเรียนผู้มีโอกาสตามเสด็จฯเอง น.ส. ทิพยวรรณ ศุภกิจถาวร นักเรียนชั้นมัธยมปีที่ ๕ โรงเรียนวังไกลกังวล ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์มติชนไว้ว่า “ มีโอกาสได้ตามเสด็จฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทั้งสามครั้ง ความรู้สึกทั้งสามครั้งไม่ต่างกันเลย ยังคงตื่นเต้น และรู้สึกตื้นตันทุกครั้ง ตนไม่เคยนึกว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ที่อยู่สูงสุด จะทรงมาเป็นครูและรับสั่งสอนตนอย่างใกล้ชิด เป็นความประทับใจอย่างที่สุดของชีวิต “ส้ม” มีโอกาสได้ตามเสด็จฯ ไปที่เขาเต่า ไปที่โครงการฝนหลวง และไปที่ปราณบุรี พระองค์ทรงเป็นครูที่รับสั่งสอนหลายอย่าง ในครั้งแรกที่มีโอกาสได้ตามเสด็จฯ พระองค์ท่านรับสั่งสอนเรื่องดิน ทรงใช้ศัพท์ง่ายๆ ทรงสอนพวกเราอย่างไม่ถือพระองค์เลย นักเรียนที่ตามเสด็จฯ ก็ก้มหน้าก้มตาจดในสิ่งที่พระองค์รับสั่งสอนกันยกใหญ่ สักพักในหลวงทรงถามว่า ที่จดกันน่ะเข้าใจหรือเปล่า แล้วก็ทรงยิ้ม พระองค์ทรงรับสั่งสอนอยู่นานหลายชั่วโมงโดยที่พระองค์ไม่ทรงเหน็ดเหนื่อยเลย น.ส.ทิพยวรรณบอกด้วยว่าการได้ตามเสด็จฯ ทำให้ตนได้เห็นการทำงานที่ทรงเหน็ดเหนื่อยของพระองค์ ไม่ว่าจะดึกดื่น ค่ำคืน หรือพระองค์ทรงเหน็ดเหนื่อยแค่ไหน แต่ถ้างานของพระองค์ท่านทรงทำอยู่ ยังไม่เสร็จ พระองค์ท่านจะทรงทำให้เสร็จในที่สุด พระองค์ท่านทรงไม่ผลัดวันประกันพรุ่ง ตรงนี้ตนได้นำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันด้วย ที่สำคัญการที่ได้มาเรียนที่โรงเรียนวังไกลกังวล ซึ่งเป็นโรงเรียนของพระองค์ท่าน ตนจึงตั้งใจไว้แล้วว่าจะตั้งใจ เรียน และจะเป็นคนดีให้สมกับที่พระองค์พระราชทานโอกาสให้พวกเรามีโรงเรียนเรียน”
เรียบเรียงจาก - หนังสือพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหาราช กับการศึกษาของไทย ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี
- มติชน ๕ ธันวาคม ๒๕๔๖
พระบรมราโชวาท
“…ความรู้นั้นสำคัญยิ่งใหญ่ เพราะเป็นปัจจัยให้เกิดความฉลาดสามารถ และความเจริญก้าวหน้า มนุษย์จึงใฝ่ศึกษากันอย่างไม่รู้จบสิ้น แต่เมื่อพิเคราะห์ดูแล้ว การเรียนความรู้แม้มากมายเพียงใด บางทีก็ไม่ช่วยให้ฉลาดหรือเจริญได้เท่าไรนัก ถ้าหากเรียนไม่ถูกถ้วน ไม่รู้จริงแท้ การศึกษาหาความรู้จึงสำคัญตรงที่ว่า ต้องศึกษาเพื่อให้เกิด “ความฉลาดรู้” คือรู้แล้วสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้จริงๆ โดยไม่เป็นพิษ เป็นโทษ การศึกษาเพื่อความฉลาดรู้ มีข้อปฏิบัติที่น่าจะยึดเป็นหลักอย่างน้อยสองประการ ประการแรกเมื่อจะศึกษาสิ่งใดเรื่องใดให้รู้จริง ควรจะได้ศึกษาให้ตลอดครบถ้วน ทุกแง่ทุกมุม ไม่ใช่เรียนรู้แต่เพียงบางส่วนบางตอน หรือเพ่งเล็งเฉพาะแต่เพียงบางแง่บางมุม อีกประการหนึ่งซึ่งจะต้องปฏิบัติประกอบพร้อมกันไปด้วยเสมอ คือต้องพิจารณาศึกษาเรื่องนั้น ๆ ด้วยความคิดจิตใจที่ตั้งมั่นเป็นปรกติ และเที่ยงตรง เป็นกลาง ไม่ยอมให้รู้เห็นและเข้าใจตามอำนาจ ความเหนี่ยวนำของอคติ ไม่ว่าจะเป็นอคติฝ่ายชอบหรือฝ่ายชัง มิฉะนั้นความรู้ที่เกิดขึ้นจะไม่เป็นความรู้แท้ หากแต่เป็นความรู้ที่ถูกอำพรางไว้ หรือที่คลาดเคลื่อนวิปริตไปต่างๆ จะนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์จริงๆ โดยปราศจากโทษไม่ได้…”
พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๒๔
ข้อมูลจาก : บทความพิเศษประกอบรายการของสถานีวิทยุ อสมท เรื่อง “ในหลวงของเรา” ผลิตโดย งานบริการการผลิต ส่วนสนับสนุนการผลิตวิทยุ ฝ่ายออกอากาศวิทยุกรุงเทพ
ทักษะการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21
ความท้าทายด้านการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ในการเตรียมนักเรียนให้พร้อมกับชีวิตในศตวรรษที่ 21 เป็นเรื่องสำคัญของกระแสการปรับเปลี่ยนทางสังคมที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 21 ส่งผลต่อวิถีการดำรงชีพของสังคมอย่างทั่วถึง ครูจึงต้องมีความตื่นตัวและเตรียมพร้อมในการจัดการเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมให้นักเรียนมีทักษะสำหรับการออกไปดำรงชีวิตในโลกในศตวรรษที่ 21 ที่เปลี่ยนไปจากศตวรรษที่ 20 และ 19 โดยทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ที่สำคัญที่สุด คือ ทักษะการเรียนรู้ (Learning Skill) ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงการจัดการเรียนรู้เพื่อให้เด็กในศตวรรษที่ 21 นี้ มีความรู้ ความสามารถ และทักษะจำเป็น ซึ่งเป็นผลจากการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดการเรียนการสอน ตลอดจนการเตรียมความพร้อมด้านต่างๆ
ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills) วิจารณ์ พานิช (2555: 16-21) ได้กล่าวถึงทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ดังนี้
สาระวิชาก็มีความสำคัญ แต่ไม่เพียงพอสำหรับการเรียนรู้เพื่อมีชีวิตในโลกยุคศตวรรษที่ ๒๑ ปัจจุบันการเรียนรู้สาระวิชา (content หรือ subject matter) ควรเป็นการเรียนจากการค้นคว้าเองของศิษย์ โดยครูช่วยแนะนำ และช่วยออกแบบกิจกรรมที่ช่วยให้นักเรียนแต่ละคนสามารถประเมินความก้าวหน้าของการเรียนรู้ของตนเองได้
สาระวิชาหลัก (Core Subjects) ประกอบด้วย
ภาษาแม่ และภาษาสำคัญของโลก
ศิลปะ
คณิตศาสตร์
การปกครองและหน้าที่พลเมือง
เศรษฐศาสตร์
วิทยาศาสตร์
ภูมิศาสตร์
ประวัติศาสตร์
โดยวิชาแกนหลักนี้จะนำมาสู่การกำหนดเป็นกรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์สำคัญต่อการจัดการเรียนรู้ในเนื้อหาเชิงสหวิทยาการ (Interdisciplinary) หรือหัวข้อสำหรับศตวรรษที่ 21 โดยการส่งเสริมความเข้าใจในเนื้อหาวิชาแกนหลัก และสอดแทรกทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เข้าไปในทุกวิชาแกนหลัก ดังนี้
ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
ความรู้เกี่ยวกับโลก (Global Awareness)
ความรู้เกี่ยวกับการเงิน เศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ และการเป็นผู้ประกอบการ (Financial, Economics, Business and Entrepreneurial Literacy)
ความรู้ด้านการเป็นพลเมืองที่ดี (Civic Literacy)
ความรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy)
ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Literacy)
ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม จะเป็นตัวกำหนดความพร้อมของนักเรียนเข้าสู่โลกการทำงานที่มีความซับซ้อนมากขึ้นในปัจจุบัน ได้แก่
ความริเริ่มสร้างสรรค์และนวัตกรรม
การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา
การสื่อสารและการร่วมมือ
ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี เนื่องด้วยในปัจจุบันมีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านทางสื่อและเทคโนโลยีมากมาย ผู้เรียนจึงต้องมีความสามารถในการแสดงทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและปฏิบัติงานได้หลากหลาย โดยอาศัยความรู้ในหลายด้าน ดังนี้
ความรู้ด้านสารสนเทศ
ความรู้เกี่ยวกับสื่อ
ความรู้ด้านเทคโนโลยี
ทักษะด้านชีวิตและอาชีพ ในการดำรงชีวิตและทำงานในยุคปัจจุบันให้ประสบความสำเร็จ นักเรียนจะต้องพัฒนาทักษะชีวิตที่สำคัญดังต่อไปนี้
ความยืดหยุ่นและการปรับตัว
การริเริ่มสร้างสรรค์และเป็นตัวของตัวเอง
ทักษะสังคมและสังคมข้ามวัฒนธรรม
การเป็นผู้สร้างหรือผู้ผลิต (Productivity) และความรับผิดชอบเชื่อถือได้ (Accountability)
ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ (Responsibility)
ทักษะของคนในศตวรรษที่ 21 ที่ทุกคนจะต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต คือ การเรียนรู้ 3R x 7C
3R คือ Reading (อ่านออก), (W)Riting (เขียนได้), และ (A)Rithemetics (คิดเลขเป็น)
7C ได้แก่
Critical Thinking and Problem Solving (ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา)
Creativity and Innovation (ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม)
Cross-cultural Understanding (ทักษะด้านความเข้าใจความต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์)
Collaboration, Teamwork and Leadership (ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ)
Communications, Information, and Media Literacy (ทักษะด้านการสื่อสารสารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ)
Computing and ICT Literacy (ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)
Career and Learning Skills (ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้)
แนวคิดทักษะแห่งอนาคตใหม่: การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และกรอบแนวคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เป็นการกำหนดแนวทางยุทธศาสตร์ในการจัดการเรียนรู้ โดยร่วมกันสร้างรูปแบบและแนวปฏิบัติในการเสริมสร้างประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยเน้นที่องค์ความรู้ ทักษะ ความเชี่ยวชาญและสมรรถนะที่เกิดกับตัวผู้เรียน เพื่อใช้ในการดำรงชีวิตในสังคมแห่งความเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน โดยจะอ้างถึงรูปแบบ (Model) ที่พัฒนามาจากเครือข่ายองค์กรความร่วมมือเพื่อทักษะแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (Partnership For 21st Century Skills) (www.p21.org ) ที่มีชื่อย่อว่า เครือข่าย P21 ซึ่งได้พัฒนากรอบแนวคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยผสมผสานองค์ความรู้ ทักษะเฉพาะด้าน ความชำนาญการและความรู้เท่าทันด้านต่างๆ เข้าด้วยกัน เพื่อความสำเร็จของผู้เรียนทั้งด้านการทำงานและการดำเนินชีวิต
ภาพ กรอบแนวคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (21st Century Learning Framework) (http://www.qlf.or.th/)
กรอบแนวคิดเชิงมโนทัศน์สำหรับทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เป็นที่ยอมรับในการสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (Model of 21st Century Outcomes and Support Systems) ซึ่งเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางเนื่องด้วยเป็นกรอบแนวคิดที่เน้นผลลัพธ์ที่เกิดกับผู้เรียน (Student Outcomes) ทั้งในด้านความรู้สาระวิชาหลัก (Core Subjects) และทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ที่จะช่วยผู้เรียนได้เตรียมความพร้อมในหลากหลายด้าน รวมทั้งระบบสนับสนุนการเรียนรู้ ได้แก่มาตรฐานและการประเมิน หลักสูตรและการเยนการสอน การพัฒนาครู สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเรียนในศตวรรษที่ 21
การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ต้องก้าวข้าม “สาระวิชา” ไปสู่การเรียนรู้ “ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21” (21st Century Skills) ซึ่งครูจะเป็นผู้สอนไม่ได้ แต่ต้องให้นักเรียนเป็นผู้เรียนรู้ด้วยตนเอง โดยครูจะออกแบบการเรียนรู้ ฝึกฝนให้ตนเองเป็นโค้ช (Coach) และอำนวยความสะดวก (Facilitator) ในการเรียนรู้แบบ PBL (Problem-Based Learning) ของนักเรียน ซึ่งสิ่งที่เป็นตัวช่วยของครูในการจัดการเรียนรู้คือ ชุมชนการเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ (Professional Learning Communities : PLC) เกิดจากการรวมตัวกันของครูเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำหน้าที่ของครูแต่ละคนนั่นเอง
อ้างอิงจาก
http://www.noppawan.sskru.ac.th/data/learn_c21.pdf
การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
ปัจจัยสนับสนุนการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
องค์ประกอบที่สำคัญและจำเป็นเพื่อในการเรียนรู้ของนักเรียนทักษะในศตวรรษที่ 21 คือ มาตรฐานศตวรรษที่ 21 การประเมินผลหลักสูตรการเรียนการสอนการพัฒนาอาชีพและสภาพแวดล้อมการเรียนรู้จะต้องสอดคล้องกับระบบสนับสนุนการผลิตที่ก่อให้เกิดผลลัพธ์ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนในปัจจุบัน
มาตรฐานศตวรรษที่ 21
- มุ่งเน้นทักษะในศตวรรษที่ 21 นักเรียนมีความรู้ในเนื้อหาและความเชี่ยวชาญ
- สร้างความเข้าใจระหว่างวิชาหลัก เช่นเดียวกับรูปแบบสหวิทยาการศตวรรษที่ 21
- เน้นความเข้าใจอย่างลึกซึ้งมากกว่าความรู้แบบผิวเผิน
- การของมีส่วนร่วมของนักเรียนกับ ข้อมูลและ เครื่องมือในโลกแห่งความเป็นจริงและพวกเขาจะพบผู้
เชียวชาญในวิทยาลัยหรือในที่ทำงานและ ชีวิตนักเรียนจะเรียนรู้ได้ดีที่สุดเมื่อทำงานอย่างแข็งขัน การแก้ปัญหาที่มีความหมาย
- การมีมาตรการหลายๆรูปแบบของการเรียนรู้
การประเมินด้านทักษะในศตวรรษที่ 21
- รองรับความสมดุลของการประเมินรวมทั้งมีคุณภาพสูง การทดสอบมาตรฐานที่มีคุณภาพสูงพร้อมกับการประเมินผลในชั้นเรียนที่มีประสิทธิภาพ
- เน้นข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานของนักเรียนที่ถูกฝังลงในการเรียนรู้ในชีวิตประจำวัน
- การประเมินการใช้เทคโนโลยีให้มีความสมดุล ความชำนาญนักเรียนซึ่งเป็นการวัดทักษะในศตวรรษที่ 21
- ช่วยให้การพัฒนาคุณภาพนักเรียนนักศึกษาที่แสดงให้เห็นการเรียนรู้ทักษะในศตวรรษที่ 21 เพื่อการศึกษาและการทำงานในอนาคต
- ช่วยให้มาตรการการประเมินประสิทธิภาพระบบการศึกษาในระดับที่สูงประเมินถึงสมรรถนะของนักเรียนด้านทักษะในศตวรรษที่ 21
หลักสูตร และการสอนในศตวรรษที่ 21
- สอนทักษะในศตวรรษที่ 21 ซึ่งแยกกัน ในบริบทของวิชาหลักและ รูปแบบสหวิทยาการในศตวรรษที่ 21
- มุ่งเน้นไปที่การให้โอกาสสำหรับการใช้ทักษะในศตวรรษที่ 21 ในเนื้อหาและวิธีการตามความสามารถในการเรียนรู้
- ช่วยให้วิธีการเรียนรู้นวัตกรรมที่บูรณาการการใช้เทคโนโลยีสนับสนุนแนวทางเพิ่มเติมในการใช้ปัญหาเป็นฐาน และทักษะการคิดขั้นสูง
- สนับสนุนให้รวมทรัพยากรของชุมชน ภูมิปัญญาชาวบ้าน แหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน
การพัฒนามืออาชีพในศตวรรษที่ 21
- ครูมีแนวทางการสอนมีความสามารถสำหรับการบูรณาการทักษะในศตวรรษที่ 21 เครื่องมือและกลยุทธ์การเรียนการสอนไปสู่การปฏิบัติในชั้นเรียนของพวกเขา
- การเรียนการสอนมที่มุ่งเน้นการทำโครงงาน
- แสดงให้เห็นว่ามีความรู้ความเข้าใจในเรื่องจริงสามารถเพิ่มการแก้ปัญหาการคิดเชิงวิพากษ์และอื่น ๆ ทักษะในศตวรรษที่ 21
- ช่วยให้มืออาชีพในชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ สำหรับครูที่ 21 ว่ารูปแบบชนิดของการเรียนรู้ในห้องเรียนที่ดีที่สุดส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียน
- การพัฒนา ความสามารถในการระบุตัวตนของนักเรียนโดยครูมีรูปแบบการเรียนโดยเฉพาะอย่างยิ่งรู้จุดแข็งและจุดอ่อนของผู้เรียน
- ช่วยให้ครูพัฒนาความสามารถในการใช้กลยุทธ์ต่างๆ (เช่นการประเมินผลการเรียนการสอน) ถึงนักเรียนที่มีความหลากหลายและสร้างสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนความแตกต่างการเรียนการสอนและการเรียนรู้
- รองรับการประเมินผลอย่างต่อเนื่องของการพัฒนาทักษะของนักเรียนศตวรรษที่ 21
- ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างชุมชนของผู้ปฏิบัติงานโดยการหันหน้าเข้าหากันการสื่อสารเสมือนและผสม
- ใช้รูปแบบความเป็นอันหนึ่งหันเดียวกันและความยั่งยืนของการพัฒนาวิชาชีพ
สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
- สร้างการเรียนรู้วิธีปฏิบัติที่สนับสนุนความต้องการของมนุษย์และสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่จะสนับสนุนการเรียนการสอนและการเรียนรู้ด้วยทักษะในศตวรรษที่ 21
- สนับสนุนการเรียนรู้ชุมชนมืออาชีพที่ช่วยให้การศึกษาเพื่อการทำงานร่วมกันแบ่งปันแนวทางปฏิบัติที่ดีและบูรณาการทักษะในศตวรรษที่ 21 ในการปฏิบัติในชั้นเรียน
- ช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้ในงานที่เกี่ยวข้องในโลกศตวรรษที่ 21 แวดล้อมจริง (เช่น ปฏิบัติจริงหรือผ่านการทำงานที่ใช้ตามโครงการหรืออื่น ๆ )
- เรียนรู้การใช้เครื่องมือเทคโนโลยีและทรัพยากรอย่างมีคุณภาพ รู้จักการทำงานสำหรับการเรียนรู้เป็นกลุ่มทีมและรายบุคคล
- สนับสนุนการติดต่อกับชุมชนและการมีส่วนระหว่างต่างชาติในการเรียนรู้โดยตรงและออนไลน์
การเตรียมความพร้อมให้นักเรียนในศตวรรษที่ 21 อาศัยการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการมีวิสัยทัศน์ พันธกิจและเป้าหมายที่ชัดเจน ผู้เรียนจะต้องมีความรู้ที่จำเป็นในการใช้ชีวิตและทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ มีความรู้และทักษะเพื่อให้สามารถการใช้ชีวิต การทำงาน ดำรงชีพอยู่ได้กับภาวะเศรษฐกิจในสังคมโลกปัจจุบัน
ขอขอบคุณขัอมูลจาก www.route21.org.com
การให้การศึกษาสำหรับศตวรรษที่ 21 จะมีความยืดหยุ่น สร้างสรรค์ ท้าทาย และซับซ้อน เป็นการศึกษาที่จะทำให้โลกเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอย่างเต็มไปด้วยสิ่งท้าทาย และปัญหา รวมทั้งโอกาสและสิ่งที่เป็นไปได้ใหม่ๆ ที่น่าตื่นเต้น โรงเรียนในศตวรรษที่ 21 จะเป็นโรงเรียนที่มีหลักสูตรแบบยึดโครงงานเป็นฐาน (project -based curriculum) เป็นหลักสูตรที่ให้นักเรียนเกี่ยวข้องกับปัญหาในโลกที่เป็นจริง เป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความเป็นมนุษย์ และคำถามเกี่ยวกับอนาคตเชิงวัฒนธรรม สังคม และสากล
ภาพของโรงเรียนจะเปลี่ยนจากการเป็นสิ่งก่อสร้างเป็นภาพของการเป็นศูนย์รวมประสาท (nerve centers) ที่ไม่จำกัดอยู่แต่ในห้องเรียน แต่จะเชื่อมโยงครู นักเรียนและชุมชน เข้าสู่ขุมคลังแห่งความรู้ทั่วโลก ครูเองจะเปลี่ยนจากการเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ไปเป็นผู้สนับสนุนช่วยเหลือให้นักเรียนสามารถเปลี่ยนสารสนเทศเป็นความรู้ และนำความรู้เป็นเครื่องมือสู่การปฏิบัติและให้เป็นประโยชน์ เป็นการเรียนรู้เพื่อสร้างความรู้ และต้องมีการสร้างวัฒนธรรมการสืบค้น (create a culture of inquiry)
ในศตวรรษที่ 21 การให้การศึกษาตามทฤษฎีการเรียนรู้ของบลูม (Bloom´s Taxonomy of Learning) จะเปลี่ยนไป เน้นทักษะการเรียนรู้ขั้นที่สูงขึ้น (higher order learning skills) โดยเฉพาะทักษะการประเมินค่า (evaluating skills) จะถูกแทนที่โดยทักษะการนำเอาความรู้ใหม่ไปใช้อย่างสร้างสรรค์ (ability to use new knowledge in a creative way) ในอดีตที่ผ่านมา นักเรียนไปโรงเรียนเพื่อใช้เวลาในการเรียนรายวิชาต่างๆ เพื่อรับเกรด และเพื่อให้จบการศึกษา แต่ในปัจจุบันจะพบปรากฏการณ์ใหม่ที่แตกต่างไป เช่น การเรียนการสอนที่ช่วยให้นักเรียนได้เตรียมตัวเพื่อใช้ชีวิตในโลกที่เป็นจริง (life in the real world) เน้นการศึกษาตลอดชีวิต (lifelong learning) ด้วยวิธีการสอนที่มีความยืดหยุ่น (flexible in how we teach) มีการกระตุ้นและจูงใจให้ผู้เรียนมีความเป็นคนเจ้าความคิดเจ้าปัญญา (resourceful) ที่ยังคงแสวงหาการเรียนรู้แม้จะจบการศึกษาออกไป
ลักษณะของหลักสูตรในศตวรรษที่ 21 จะเป็นหลักสูตรที่เน้นคุณลักษณะเชิงวิพากษ์ (critical attributes) เชิงสหวิทยาการ (interdisciplinary) ยึดโครงงานเป็นฐาน (project-based) และขับเคลื่อนด้วยการวิจัย (research-driven) เชื่อมโยงท้องถิ่นชุมชนเข้ากับภาค ประเทศ และโลก ในบางโอกาสนักเรียนสามารถร่วมมือ (collaboration) กับโครงงานต่าง ๆได้ทั่วโลก เป็นหลักสูตรที่เน้นทักษะการคิดขั้นสูง พหุปัญญา เทคโนโลยีและมัลติมีเดีย ความรู้พื้นฐานเชิงพหุสำหรับศตวรรษที่ 21 และการประเมินผลตามสภาพจริง รวมทั้งการเรียนรู้จากการให้บริการ (service) ก็เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ
ภาพของห้องเรียน จะขยายกลายเป็นชุมชนที่ใหญ่ขึ้น (greater community) นักเรียนมีคุณลักษณะเป็นผู้ชี้นำตนเองได้ (self-directed) มีการทำงานทั้งอย่างเป็นอิสระและอย่างร่วมมือกันคนอื่น หลักสูตรและการสอนจะมีลักษณะท้าทายสำหรับนักเรียนทุกคน และคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล หลักสูตรจะไม่เน้นการยึดตำราเป็นตัวขับเคลื่อน (textbook-driven) หรือแบบแยกส่วน (fragmented) เช่นในอดีต แต่จะเป็นหลักสูตรแบบยึดโครงงานและการบูรณาการ การสอนทักษะและเนื้อหาจะไม่เป็นจุดหมายปลายทาง (as an end) เช่นที่เคยเป็นมา แต่นักเรียนจะต้องมีการเรียนรู้ผ่านการวิจัยและการปฏิบัติในโครงงาน การเรียนรู้จากตำราจะเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ความรู้ (knowledge) จะไม่หมายถึงการจดจำข้อเท็จจริงหรือตัวเลข แต่จะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการวิจัยและการปฏิบัติโดยเชื่อมโยงกับความรู้และประสบการณ์เก่าที่มีอยู่ ทักษะและเนื้อหาที่ได้รับจะเกี่ยวข้องและมีความจำเป็นต่อการปฏิบัติในโครงงาน จะไม่จบลงตรงที่การได้รับทักษะและเนื้อหาแล้วเท่านั้น การประเมินผลจะเปลี่ยนจากการประเมินความจำและความไม่เกี่ยวโยงกับความเข้าใจต่อการนำไปปฏิบัติได้จริง ไปเป็นการประเมินที่ผู้ถูกประเมินมีส่วนร่วมในการประเมินตนเองด้วย (self-assessment) ทักษะที่คาดหวังสำหรับศตวรรษที่ 21 ที่เรียนรู้ผ่านหลักสูตรที่เป็นสหวิทยาการ บูรณาการ ยึดโครงงานเป็นฐาน และอื่นๆ ดังกล่าวจะเน้นเรื่อง 1) ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม (learning and innovation skills) 2) ทักษะชีวิตและอาชีพ (life and career skills) ทักษะสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี (information, media and technology skills) ที่คาดหวังว่าจะเกิดขึ้นได้จากความร่วมมือ (collaboration) ในการทำงานเป็นทีม การคิดเชิงวิพากษ์ (critical thinking) ในปัญหาที่ซับซ้อน การนำเสนอด้วยวาจาและด้วยการเขียน การใช้เทคโนโลยี ความเป็นพลเมืองดี การฝึกปฏิบัติอาชีพ การวิจัย และการปฏิบัติสิ่งต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้น
ดังนั้น การให้การศึกษาสำหรับศตวรรษที่ 21 ต้องเปลี่ยนแปลงทัศนะ (perspectives) จากกระบวนทัศน์แบบดั้งเดิม (tradition paradigm) ไปสู่กระบวนทัศน์ใหม่ (new paradigm) ที่ให้โลกของนักเรียนและโลกความเป็นจริงเป็นศูนย์กลางของกระบวนการเรียนรู้ เป็นการเรียนรู้ที่ไปไกลกว่าการได้รับความรู้แบบง่ายๆ ไปสู่การเน้นพัฒนาทักษะและทัศนคติ — ทักษะการคิด ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะองค์การ ทัศนคติเชิงบวก ความเคารพตนเอง นวัตกรรม ความสร้างสรรค์ ทักษะการสื่อสาร ทักษะและค่านิยมทางเทคโนโลยี ความเชื่อมั่นตนเอง ความยืดหยุ่น การจูงใจตนเอง และความตระหนักในสภาพแวดล้อม และเหนืออื่นใด คือ ความสามารถใช้ความรู้อย่างสร้างสรรค์ (the ability to handle knowledge effectively in order to use it creatively) ถือเป็นทักษะที่สำคัญจำเป็นสำหรับการเป็นนักเรียนในศตวรรษที่ 21 ถือเป็นสิ่งที่ท้าทายในการที่จะพัฒนาเรียนเพื่ออนาคต ให้นักเรียนมีทักษะ ทัศนคติ ค่านิยม และบุคลิกภาพส่วนบุคคล เพื่อเผชิญกับอนาคตด้วยภาพในทางบวก (optimism) ที่มีทั้งความสำเร็จและมีความสุข
St George’s College. (n.d.). Educating for the 21st century. Retrieved January 2, 2013 from http://www.stgeorgescollege.edu.pe/pg-en/educating-for-the-21st-century.php
ขอขอบคุณข้อมูล : หนังสือ “กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษา: กรณีทัศนะต่อการศึกษาศตวรรษที่ 21 – 2556″ (ต้นฉบับร่างขอบข่ายเนื้อหา)
Source: http://www.glenwoodacademy.com/21st-century-education/?doing_wp_cron=1362985224.3900759220123291015625
ปัจจัยสนับสนุนการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
องค์ประกอบที่สำคัญและจำเป็นเพื่อในการเรียนรู้ของนักเรียนทักษะในศตวรรษที่ 21 คือ มาตรฐานศตวรรษที่ 21 การประเมินผลหลักสูตรการเรียนการสอนการพัฒนาอาชีพและสภาพแวดล้อมการเรียนรู้จะต้องสอดคล้องกับระบบสนับสนุนการผลิตที่ก่อให้เกิดผลลัพธ์ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนในปัจจุบัน
มาตรฐานศตวรรษที่ 21
- มุ่งเน้นทักษะในศตวรรษที่ 21 นักเรียนมีความรู้ในเนื้อหาและความเชี่ยวชาญ
- สร้างความเข้าใจระหว่างวิชาหลัก เช่นเดียวกับรูปแบบสหวิทยาการศตวรรษที่ 21
- เน้นความเข้าใจอย่างลึกซึ้งมากกว่าความรู้แบบผิวเผิน
- การของมีส่วนร่วมของนักเรียนกับ ข้อมูลและ เครื่องมือในโลกแห่งความเป็นจริงและพวกเขาจะพบผู้
เชียวชาญในวิทยาลัยหรือในที่ทำงานและ ชีวิตนักเรียนจะเรียนรู้ได้ดีที่สุดเมื่อทำงานอย่างแข็งขัน การแก้ปัญหาที่มีความหมาย
- การมีมาตรการหลายๆรูปแบบของการเรียนรู้
การประเมินด้านทักษะในศตวรรษที่ 21
- รองรับความสมดุลของการประเมินรวมทั้งมีคุณภาพสูง การทดสอบมาตรฐานที่มีคุณภาพสูงพร้อมกับการประเมินผลในชั้นเรียนที่มีประสิทธิภาพ
- เน้นข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานของนักเรียนที่ถูกฝังลงในการเรียนรู้ในชีวิตประจำวัน
- การประเมินการใช้เทคโนโลยีให้มีความสมดุล ความชำนาญนักเรียนซึ่งเป็นการวัดทักษะในศตวรรษที่ 21
- ช่วยให้การพัฒนาคุณภาพนักเรียนนักศึกษาที่แสดงให้เห็นการเรียนรู้ทักษะในศตวรรษที่ 21 เพื่อการศึกษาและการทำงานในอนาคต
- ช่วยให้มาตรการการประเมินประสิทธิภาพระบบการศึกษาในระดับที่สูงประเมินถึงสมรรถนะของนักเรียนด้านทักษะในศตวรรษที่ 21
หลักสูตร และการสอนในศตวรรษที่ 21
- สอนทักษะในศตวรรษที่ 21 ซึ่งแยกกัน ในบริบทของวิชาหลักและ รูปแบบสหวิทยาการในศตวรรษที่ 21
- มุ่งเน้นไปที่การให้โอกาสสำหรับการใช้ทักษะในศตวรรษที่ 21 ในเนื้อหาและวิธีการตามความสามารถในการเรียนรู้
- ช่วยให้วิธีการเรียนรู้นวัตกรรมที่บูรณาการการใช้เทคโนโลยีสนับสนุนแนวทางเพิ่มเติมในการใช้ปัญหาเป็นฐาน และทักษะการคิดขั้นสูง
- สนับสนุนให้รวมทรัพยากรของชุมชน ภูมิปัญญาชาวบ้าน แหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน
การพัฒนามืออาชีพในศตวรรษที่ 21
- ครูมีแนวทางการสอนมีความสามารถสำหรับการบูรณาการทักษะในศตวรรษที่ 21 เครื่องมือและกลยุทธ์การเรียนการสอนไปสู่การปฏิบัติในชั้นเรียนของพวกเขา
- การเรียนการสอนมที่มุ่งเน้นการทำโครงงาน
- แสดงให้เห็นว่ามีความรู้ความเข้าใจในเรื่องจริงสามารถเพิ่มการแก้ปัญหาการคิดเชิงวิพากษ์และอื่น ๆ ทักษะในศตวรรษที่ 21
- ช่วยให้มืออาชีพในชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ สำหรับครูที่ 21 ว่ารูปแบบชนิดของการเรียนรู้ในห้องเรียนที่ดีที่สุดส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียน
- การพัฒนา ความสามารถในการระบุตัวตนของนักเรียนโดยครูมีรูปแบบการเรียนโดยเฉพาะอย่างยิ่งรู้จุดแข็งและจุดอ่อนของผู้เรียน
- ช่วยให้ครูพัฒนาความสามารถในการใช้กลยุทธ์ต่างๆ (เช่นการประเมินผลการเรียนการสอน) ถึงนักเรียนที่มีความหลากหลายและสร้างสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนความแตกต่างการเรียนการสอนและการเรียนรู้
- รองรับการประเมินผลอย่างต่อเนื่องของการพัฒนาทักษะของนักเรียนศตวรรษที่ 21
- ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างชุมชนของผู้ปฏิบัติงานโดยการหันหน้าเข้าหากันการสื่อสารเสมือนและผสม
- ใช้รูปแบบความเป็นอันหนึ่งหันเดียวกันและความยั่งยืนของการพัฒนาวิชาชีพ
สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
- สร้างการเรียนรู้วิธีปฏิบัติที่สนับสนุนความต้องการของมนุษย์และสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่จะสนับสนุนการเรียนการสอนและการเรียนรู้ด้วยทักษะในศตวรรษที่ 21
- สนับสนุนการเรียนรู้ชุมชนมืออาชีพที่ช่วยให้การศึกษาเพื่อการทำงานร่วมกันแบ่งปันแนวทางปฏิบัติที่ดีและบูรณาการทักษะในศตวรรษที่ 21 ในการปฏิบัติในชั้นเรียน
- ช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้ในงานที่เกี่ยวข้องในโลกศตวรรษที่ 21 แวดล้อมจริง (เช่น ปฏิบัติจริงหรือผ่านการทำงานที่ใช้ตามโครงการหรืออื่น ๆ )
- เรียนรู้การใช้เครื่องมือเทคโนโลยีและทรัพยากรอย่างมีคุณภาพ รู้จักการทำงานสำหรับการเรียนรู้เป็นกลุ่มทีมและรายบุคคล
- สนับสนุนการติดต่อกับชุมชนและการมีส่วนระหว่างต่างชาติในการเรียนรู้โดยตรงและออนไลน์
การเตรียมความพร้อมให้นักเรียนในศตวรรษที่ 21 อาศัยการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการมีวิสัยทัศน์ พันธกิจและเป้าหมายที่ชัดเจน ผู้เรียนจะต้องมีความรู้ที่จำเป็นในการใช้ชีวิตและทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ มีความรู้และทักษะเพื่อให้สามารถการใช้ชีวิต การทำงาน ดำรงชีพอยู่ได้กับภาวะเศรษฐกิจในสังคมโลกปัจจุบัน
ขอขอบคุณขัอมูลจาก www.route21.org.com
การให้การศึกษาสำหรับศตวรรษที่ 21 จะมีความยืดหยุ่น สร้างสรรค์ ท้าทาย และซับซ้อน เป็นการศึกษาที่จะทำให้โลกเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอย่างเต็มไปด้วยสิ่งท้าทาย และปัญหา รวมทั้งโอกาสและสิ่งที่เป็นไปได้ใหม่ๆ ที่น่าตื่นเต้น โรงเรียนในศตวรรษที่ 21 จะเป็นโรงเรียนที่มีหลักสูตรแบบยึดโครงงานเป็นฐาน (project -based curriculum) เป็นหลักสูตรที่ให้นักเรียนเกี่ยวข้องกับปัญหาในโลกที่เป็นจริง เป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความเป็นมนุษย์ และคำถามเกี่ยวกับอนาคตเชิงวัฒนธรรม สังคม และสากล
ภาพของโรงเรียนจะเปลี่ยนจากการเป็นสิ่งก่อสร้างเป็นภาพของการเป็นศูนย์รวมประสาท (nerve centers) ที่ไม่จำกัดอยู่แต่ในห้องเรียน แต่จะเชื่อมโยงครู นักเรียนและชุมชน เข้าสู่ขุมคลังแห่งความรู้ทั่วโลก ครูเองจะเปลี่ยนจากการเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ไปเป็นผู้สนับสนุนช่วยเหลือให้นักเรียนสามารถเปลี่ยนสารสนเทศเป็นความรู้ และนำความรู้เป็นเครื่องมือสู่การปฏิบัติและให้เป็นประโยชน์ เป็นการเรียนรู้เพื่อสร้างความรู้ และต้องมีการสร้างวัฒนธรรมการสืบค้น (create a culture of inquiry)
ในศตวรรษที่ 21 การให้การศึกษาตามทฤษฎีการเรียนรู้ของบลูม (Bloom´s Taxonomy of Learning) จะเปลี่ยนไป เน้นทักษะการเรียนรู้ขั้นที่สูงขึ้น (higher order learning skills) โดยเฉพาะทักษะการประเมินค่า (evaluating skills) จะถูกแทนที่โดยทักษะการนำเอาความรู้ใหม่ไปใช้อย่างสร้างสรรค์ (ability to use new knowledge in a creative way) ในอดีตที่ผ่านมา นักเรียนไปโรงเรียนเพื่อใช้เวลาในการเรียนรายวิชาต่างๆ เพื่อรับเกรด และเพื่อให้จบการศึกษา แต่ในปัจจุบันจะพบปรากฏการณ์ใหม่ที่แตกต่างไป เช่น การเรียนการสอนที่ช่วยให้นักเรียนได้เตรียมตัวเพื่อใช้ชีวิตในโลกที่เป็นจริง (life in the real world) เน้นการศึกษาตลอดชีวิต (lifelong learning) ด้วยวิธีการสอนที่มีความยืดหยุ่น (flexible in how we teach) มีการกระตุ้นและจูงใจให้ผู้เรียนมีความเป็นคนเจ้าความคิดเจ้าปัญญา (resourceful) ที่ยังคงแสวงหาการเรียนรู้แม้จะจบการศึกษาออกไป
ลักษณะของหลักสูตรในศตวรรษที่ 21 จะเป็นหลักสูตรที่เน้นคุณลักษณะเชิงวิพากษ์ (critical attributes) เชิงสหวิทยาการ (interdisciplinary) ยึดโครงงานเป็นฐาน (project-based) และขับเคลื่อนด้วยการวิจัย (research-driven) เชื่อมโยงท้องถิ่นชุมชนเข้ากับภาค ประเทศ และโลก ในบางโอกาสนักเรียนสามารถร่วมมือ (collaboration) กับโครงงานต่าง ๆได้ทั่วโลก เป็นหลักสูตรที่เน้นทักษะการคิดขั้นสูง พหุปัญญา เทคโนโลยีและมัลติมีเดีย ความรู้พื้นฐานเชิงพหุสำหรับศตวรรษที่ 21 และการประเมินผลตามสภาพจริง รวมทั้งการเรียนรู้จากการให้บริการ (service) ก็เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ
ภาพของห้องเรียน จะขยายกลายเป็นชุมชนที่ใหญ่ขึ้น (greater community) นักเรียนมีคุณลักษณะเป็นผู้ชี้นำตนเองได้ (self-directed) มีการทำงานทั้งอย่างเป็นอิสระและอย่างร่วมมือกันคนอื่น หลักสูตรและการสอนจะมีลักษณะท้าทายสำหรับนักเรียนทุกคน และคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล หลักสูตรจะไม่เน้นการยึดตำราเป็นตัวขับเคลื่อน (textbook-driven) หรือแบบแยกส่วน (fragmented) เช่นในอดีต แต่จะเป็นหลักสูตรแบบยึดโครงงานและการบูรณาการ การสอนทักษะและเนื้อหาจะไม่เป็นจุดหมายปลายทาง (as an end) เช่นที่เคยเป็นมา แต่นักเรียนจะต้องมีการเรียนรู้ผ่านการวิจัยและการปฏิบัติในโครงงาน การเรียนรู้จากตำราจะเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ความรู้ (knowledge) จะไม่หมายถึงการจดจำข้อเท็จจริงหรือตัวเลข แต่จะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการวิจัยและการปฏิบัติโดยเชื่อมโยงกับความรู้และประสบการณ์เก่าที่มีอยู่ ทักษะและเนื้อหาที่ได้รับจะเกี่ยวข้องและมีความจำเป็นต่อการปฏิบัติในโครงงาน จะไม่จบลงตรงที่การได้รับทักษะและเนื้อหาแล้วเท่านั้น การประเมินผลจะเปลี่ยนจากการประเมินความจำและความไม่เกี่ยวโยงกับความเข้าใจต่อการนำไปปฏิบัติได้จริง ไปเป็นการประเมินที่ผู้ถูกประเมินมีส่วนร่วมในการประเมินตนเองด้วย (self-assessment) ทักษะที่คาดหวังสำหรับศตวรรษที่ 21 ที่เรียนรู้ผ่านหลักสูตรที่เป็นสหวิทยาการ บูรณาการ ยึดโครงงานเป็นฐาน และอื่นๆ ดังกล่าวจะเน้นเรื่อง 1) ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม (learning and innovation skills) 2) ทักษะชีวิตและอาชีพ (life and career skills) ทักษะสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี (information, media and technology skills) ที่คาดหวังว่าจะเกิดขึ้นได้จากความร่วมมือ (collaboration) ในการทำงานเป็นทีม การคิดเชิงวิพากษ์ (critical thinking) ในปัญหาที่ซับซ้อน การนำเสนอด้วยวาจาและด้วยการเขียน การใช้เทคโนโลยี ความเป็นพลเมืองดี การฝึกปฏิบัติอาชีพ การวิจัย และการปฏิบัติสิ่งต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้น
ดังนั้น การให้การศึกษาสำหรับศตวรรษที่ 21 ต้องเปลี่ยนแปลงทัศนะ (perspectives) จากกระบวนทัศน์แบบดั้งเดิม (tradition paradigm) ไปสู่กระบวนทัศน์ใหม่ (new paradigm) ที่ให้โลกของนักเรียนและโลกความเป็นจริงเป็นศูนย์กลางของกระบวนการเรียนรู้ เป็นการเรียนรู้ที่ไปไกลกว่าการได้รับความรู้แบบง่ายๆ ไปสู่การเน้นพัฒนาทักษะและทัศนคติ — ทักษะการคิด ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะองค์การ ทัศนคติเชิงบวก ความเคารพตนเอง นวัตกรรม ความสร้างสรรค์ ทักษะการสื่อสาร ทักษะและค่านิยมทางเทคโนโลยี ความเชื่อมั่นตนเอง ความยืดหยุ่น การจูงใจตนเอง และความตระหนักในสภาพแวดล้อม และเหนืออื่นใด คือ ความสามารถใช้ความรู้อย่างสร้างสรรค์ (the ability to handle knowledge effectively in order to use it creatively) ถือเป็นทักษะที่สำคัญจำเป็นสำหรับการเป็นนักเรียนในศตวรรษที่ 21 ถือเป็นสิ่งที่ท้าทายในการที่จะพัฒนาเรียนเพื่ออนาคต ให้นักเรียนมีทักษะ ทัศนคติ ค่านิยม และบุคลิกภาพส่วนบุคคล เพื่อเผชิญกับอนาคตด้วยภาพในทางบวก (optimism) ที่มีทั้งความสำเร็จและมีความสุข
St George’s College. (n.d.). Educating for the 21st century. Retrieved January 2, 2013 from http://www.stgeorgescollege.edu.pe/pg-en/educating-for-the-21st-century.php
ขอขอบคุณข้อมูล : หนังสือ “กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษา: กรณีทัศนะต่อการศึกษาศตวรรษที่ 21 – 2556″ (ต้นฉบับร่างขอบข่ายเนื้อหา)
Source: http://www.glenwoodacademy.com/21st-century-education/?doing_wp_cron=1362985224.3900759220123291015625
ทักษะแห่งอนาคต
ครูต้องไม่สอน แต่ต้องออกแบบการเรียนรู้
และอำนวยความสะดวก (Facilitate)
การเรียนรู้ให้นักเรียนเรียนรู้
จากการเรียนแบบลงมือทำ หรือปฏิบัติแล้ว
การเรียนรู้ก็จะเกิดจากภายในและสมองของตนเอง การเรียนรู้แบบนี้เรียกว่า
PBL (Project-Based Learning)
ศตวรรษที่ 21 สถานการณ์โลกมีความแตกต่างจากศตวรรษที่ 20 และ 19
ระบบการศึกษา ต้องมีการพัฒนาเพื่อให้สอดคล้องกับภาวะความเป็นจริง
ในประเทศสหรัฐอเมริกาแนวคิดเรื่อง "ทักษะแห่งอนาคตใหม่:
การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21" ได้ถูกพัฒนาขึ้น โดยภาคส่วนที่เกิดจากวงการนอกการศึกษา ประกอบด้วย บริษัทเอกชนชั้นนำขนาดใหญ่ เช่น บริษัทแอปเปิ้ล บริษัทไมโครซอฟ บริษัทวอล์ดิสนีย์ องค์กรวิชาชีพระดับประเทศ และสำนักงานด้านการศึกษาของรัฐ รวมตัวและก่อตั้งเป็นเครือข่ายองค์กรความร่วมมือเพื่อทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (Partnership for 21st Century Skills) หรือเรียกย่อๆว่า เครือข่าย P21
หน่วยงานเหล่านี้มีความกังวลและเห็นความจำเป็นที่เยาวชนจะต้องมีทักษะสำหรับการออกไปดำรงชีวิตในโลกแห่งศตวรรษที่ 21 ที่เปลี่ยนไปจากศตวรรษที่ 20 และ 19 จึงได้พัฒนาวิสัยทัศน์และกรอบความคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21ขึ้น สามารถสรุปทักษะสำคัญอย่างย่อๆ ที่เด็กและเยาวชนควรมีได้ว่า ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม หรือ 3R และ 4C ซึ่งมีองค์ประกอบดังนี้
3 R ได้แก่ Reading (การอ่าน), การเขียน(Writing) และ คณิตศาสตร์ (Arithmetic) และ
4 C (Critical Thinking - การคิดวิเคราะห์, Communication- การสื่อสาร Collaboration-การร่วมมือ และ Creativity-ความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงทักษะชีวิตและอาชีพ และทักษะด้านสารสนเทศสื่อและเทคโนโลยี และการบริหารจัดการด้านการศึกษาแบบใหม่
นอกจากนี้ยังมีนักการศึกษาอีกท่านหนึ่งที่มีส่วนสำคัญในการผลักดันเรื่องการฎิรูปการเรียนรู้ดังกล่าวให้กว้างขวางขึ้น คือ เซอร์เคน โรบินสัน นักการศึกษาระดับโลก โดยได้เน้นยำ้ถึงความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงแนวคิดการจัดการศึกษาระบบโรงงาน มาเป็นการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้คิดอย่างสร้างสรรค์และเข้ากับบริบทของโลกที่ได้เปลี่ยนแปลงไป ชมแอนิเมชั่นด้านบน การเปลี่ยนแปลงแนวคิดด้านการศึกษาในศตวรรษที่ 21 (Changing Education Paradigms) โดย เซอร์เคน โรบินสัน
กรอบแนวคิดข้างต้นเองก็เป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาทักษะแห่งอนาคตใหม่ในประเทศไทยและท่านที่ริเริ่มและมีบทบาทสำคัญในการผลักดันได้แก่ ศ.นพ. วิจารณ์ พานิช โดยท่านได้เขียนลงบล็อก http://www.gotoknow.org อยู่เป็นประจำ รวมถึงได้เขียนหนังสือออกมาชื่อว่า วิถีสร้างการเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21
ที่มา : มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์
ครูต้องไม่สอน แต่ต้องออกแบบการเรียนรู้
และอำนวยความสะดวก (Facilitate)
การเรียนรู้ให้นักเรียนเรียนรู้
จากการเรียนแบบลงมือทำ หรือปฏิบัติแล้ว
การเรียนรู้ก็จะเกิดจากภายในและสมองของตนเอง การเรียนรู้แบบนี้เรียกว่า
PBL (Project-Based Learning)
Project Based Learning
In Project Based Learning (PBL), students go through an extended process of inquiry in response to a complex question, problem, or challenge. While allowing for some degree of student "voice and choice," rigorous projects are carefully planned, managed, and assessed to help students learn key academic content, practice 21st Century Skills (such as collaboration, communication & critical thinking), and create high-quality, authentic products & presentations.
Rigorous and in-depth Project Based Learning:
is organized around an open-ended Driving Question or Challenge. These focus students’ work and deepen their learning by centering on significant issues, debates, questions and/or problems.
creates a need to know essential content and skills. Typical projects (and most instruction) begin by presenting students with knowledge and concepts and then, once learned, give them the opportunity to apply them. PBL begins with the vision of an end product or presentation which requires learning specific knowledge and concepts, thus creating a context and reason to learn and understand the information and concepts.
requires inquiry to learn and/or create something new. Not all learning has to be based on inquiry, but some should. And this inquiry should lead students to construct something new – an idea, an interpretation, a new way of displaying what they have learned.
requires critical thinking, problem solving, collaboration, and various forms of communication. Students need to do much more than remember information—they need to use higher-order thinking skills. They also have to learn to work as a team and contribute to a group effort. They must listen to others and make their own ideas clear when speaking, be able to read a variety of material, write or otherwise express themselves in various modes, and make effective presentations. These skills, competencies and habits of mind are often known as "21st Century Skills".
allows some degree of student voice and choice. Students learn to work independently and take responsibility when they are asked to make choices. The opportunity to make choices, and to express their learning in their own voice, also helps to increase students’ educational engagement.
incorporates feedback and revision. Students use peer critique to improve their work to create higher quality products.
results in a publicly presented product or performance. What you know is demonstrated by what you do, and what you do must be open to public scrutiny and critique.
~provided by the Buck Institute for Education
Project-Based Learning
ทักษะดิจิตอลสำหรับครูศตวรรษที่ 2
เป็นผลเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ในปัจจุบันทำให้เกิดแนวคิดใหม่ทางการศึกษามากมายอย่างที่ไม่คาดคิดมาก่อน นักเรียนต่างให้ความสนใจกับเทคโนโลยีดิจิตอลมากกว่าครั้งใดๆ ที่ผ่านมา พวกเขาใช้เวลากับสิ่งเหล่านั้นมากกว่ากับผู้ปกครองหรือคนใกล้ชิดเสียอีก ซึ่งต้องยอมรับกันว่าการเกิดขึ้นของเทคโนโลยีมีผลทั้งทางบวกและทางลบต่อนักเรียน ที่ให้ผลในทางลบที่พึงใส่ใจ เช่น ขาดความเอาใจใส่ ช่วงความสนใจสั้น ใจลอย หมกมุ่น ขาดปฏิสัมพันธ์ทางสังคม เก็บตัว ซึมเศร้า และอื่นๆ อีกมาก แต่อย่างไรก็ตาม ผลในทางบวกก็มีเช่นกัน เป็นเหรียญอีกด้านหนึ่งที่ต้องยอมรับความจริงกันว่าการสอนในโลกปัจจุบันจะต้องแตกต่างไปจากศตวรรษที่ผ่านมา ดังนั้นครูในศตวรรษที่ 21 ควรมีทักษะดิจิตอล (digital skills) ดังนี้
ทักษะการใช้โปรแกรม “digital voice editor” เช่น บันทึกข้อความใน IC recorder ลงฮาร์ดดิสก์ของคอมพิวเตอร์ หรือการบันทึกไฟล์เสียงจากคอมพิวเตอร์ลง IC recorder เล่นและตัดต่อข้อความลงคอมพิวเตอร์ หรือการส่งข้อความที่เป็นอีเมล์เสียงโดยใช้ซอฟแวร์ MAPI อีเมล์ เป็นต้น
ทักษะการจัดเก็บ URL / รายชื่อเว็บที่สนใจไว้เป็นหมวดหมู่และแลกเปลี่ยนกับผู้เรียน
ทักษะการใช้ “blog” และ “wiki” เพื่อสร้างระบบออนไลน์สำหรับนักเรียน
ทักษะการจับภาพจากสิ่งแวดล้อมหรือทำสำเนาภาพจากเอกสารให้อยู่ในรูปแบบของอิเล็กทรอนิกส์ เช่น รูปถ่าย เอกสารที่เขียนด้วยมือ หรือเอกสารพิมพ์ เป็นต้น เพื่อนำมาใช้ในห้องเรียน
ทักษะการสร้างเนื้อหาวิดีโอกระตุ้นความสนใจของนักเรียน
ทักษะเกี่ยวกับ “infographics” คือ การเอาข้อมูลที่เข้าใจยากหรือข้อมูลจำนวนมากมานำเสนอในรูปแบบต่างๆ อย่างสร้างสรรค์
ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อการสื่อสารและพัฒนาวิชาชีพ
ทักษะการสร้างรูปแบบการฝึกอบรมหรือการเรียนรู้ที่ผู้สอนและผู้เรียนไม่จำเป็นต้องพบกันตามเวลาในตารางที่กำหนดไว้ (synchronous learning) แต่สามารถติดต่อกันได้ตลอดเวลา โดยใช้เครื่องมือสื่อสารต่าง ๆ ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของเวลา และสถานที่ ผู้เรียนสามารถเรียนที่ไหนเวลาใดก็ได้ (anywhere anytime)
ทักษะในการสร้างและเผยแพร่แฟ้มสะสมงาน (portfolio) ในระบบออนไลน์ผ่านทางอินเตอร์เน็ต สำหรับบุคคลและองค์กรต่างๆ ที่ต้องการสะสมผลงาน เพื่อเก็บไว้เป็นข้อมูลสำหรับการนำเสนอ ตรวจสอบการเรียนรู้หรือการทำงานว่าประสบผลสำเร็จระดับใด
มีความรู้เกี่ยวกับระบบปกป้องความปลอดภัยในระบบออนไลน์
สามารถป้องกันการลอกเลียนแบบงานที่มอบหมายให้นักเรียน
ทักษะในการทำวีดีโอสอนและแบบฝึกสอนต่างๆ
ทักษะการเขียนและเรียบเรียงบทความสำหรับเว็บไซด์เพื่อการสอน
สามารถใช้ “task management tools” เพื่อการวางแผนและการเรียนรู้
สามารถใช้ “polling software” เพื่อสำรวจชั้นเรียน
เข้าใจประเด็นเกี่ยวกับลิขสิทธิ์และกติกาที่ใช้ในออนไลน์
ใช้เกมส์คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอน
สามารถใช้เครื่องมือการประเมินดิจิตอล
สามารถใช้ “collaborative tools” เพื่อจัดทำตำราหรือการปรับแก้ไขตำรา
สามารถค้นหาและประเมินเนื้อหาที่ปรากฏตามเว็บต่างๆ
สามารถใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ เช่น แท็ปเล็ต (tablet)
แนะนำแหล่งข้อมูลออนไลน์ที่ดีให้นักเรียนค้นหา
สามารถใช้เครื่องดิจิตอลเพื่อการบริหารเวลา
วิธีการใช้รูปแบบต่างๆ ของ “YouTube” ในห้องเรียน
ใช้ “note taking tools” เพื่อแลกเปลี่ยนเนื้อหากับนักเรียน
สามารถใช้ “annotation” คือ การใส่ตัวอักษร ลูกศร หรือเครื่องหมายสัญลักษณ์ต่าง ๆ เพื่อแสดงจุดสนใจบนภาพ / PDF หรือในเนื้อหา
สามารถใช้โปรแกรมจัดภาพ โปรแกรม หรือแผนภาพ และพิมพ์ออกมา
สามารถใช้ “online sticky notes” เพื่อแสดงแนวคิดที่น่าสนใจ
สามารถใช้ “screen casting tools” เพื่อการเรียนการสอน
สามารถใช้ “group text messaging tools” เพื่อจัดทำโครงงานร่วมมือออนไลน์
สามารถตั้งประเด็นเพื่อการสืบค้นโดยใช้เวลาน้อยเท่าที่จะทำได้
สามารถทำเอกสารงานวิจัยโดยเครื่องมือดิจิตอล
สามารถใช้ “file sharing tools” แลกเปลี่ยนไฟล์กับนักเรียนแบบออนไลน์
Kharbach, M. (2012). The 33 digital skills every 21st century teacher should have. Retreived January 18, 2013 from http://www.educatorstechnology.com/2012/06/33-digital-skills-every-21st-century.html
ที่มาข้อมูล : http://wirot.edublogs.org หนังสือ “กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษา: กรณีทัศนะต่อการศึกษาศตวรรษที่ 21 – 2556″ (ต้นฉบับร่างขอบข่ายเนื้อหา)
Source: http://educationtechnologysolutions.com.au/2012/07/13/cyberchat-21st-century-teachers-and-digital-parents/
และอำนวยความสะดวก (Facilitate)
การเรียนรู้ให้นักเรียนเรียนรู้
จากการเรียนแบบลงมือทำ หรือปฏิบัติแล้ว
การเรียนรู้ก็จะเกิดจากภายในและสมองของตนเอง การเรียนรู้แบบนี้เรียกว่า
PBL (Project-Based Learning)
ศตวรรษที่ 21 สถานการณ์โลกมีความแตกต่างจากศตวรรษที่ 20 และ 19
ระบบการศึกษา ต้องมีการพัฒนาเพื่อให้สอดคล้องกับภาวะความเป็นจริง
ในประเทศสหรัฐอเมริกาแนวคิดเรื่อง "ทักษะแห่งอนาคตใหม่:
การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21" ได้ถูกพัฒนาขึ้น โดยภาคส่วนที่เกิดจากวงการนอกการศึกษา ประกอบด้วย บริษัทเอกชนชั้นนำขนาดใหญ่ เช่น บริษัทแอปเปิ้ล บริษัทไมโครซอฟ บริษัทวอล์ดิสนีย์ องค์กรวิชาชีพระดับประเทศ และสำนักงานด้านการศึกษาของรัฐ รวมตัวและก่อตั้งเป็นเครือข่ายองค์กรความร่วมมือเพื่อทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (Partnership for 21st Century Skills) หรือเรียกย่อๆว่า เครือข่าย P21
หน่วยงานเหล่านี้มีความกังวลและเห็นความจำเป็นที่เยาวชนจะต้องมีทักษะสำหรับการออกไปดำรงชีวิตในโลกแห่งศตวรรษที่ 21 ที่เปลี่ยนไปจากศตวรรษที่ 20 และ 19 จึงได้พัฒนาวิสัยทัศน์และกรอบความคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21ขึ้น สามารถสรุปทักษะสำคัญอย่างย่อๆ ที่เด็กและเยาวชนควรมีได้ว่า ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม หรือ 3R และ 4C ซึ่งมีองค์ประกอบดังนี้
3 R ได้แก่ Reading (การอ่าน), การเขียน(Writing) และ คณิตศาสตร์ (Arithmetic) และ
4 C (Critical Thinking - การคิดวิเคราะห์, Communication- การสื่อสาร Collaboration-การร่วมมือ และ Creativity-ความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงทักษะชีวิตและอาชีพ และทักษะด้านสารสนเทศสื่อและเทคโนโลยี และการบริหารจัดการด้านการศึกษาแบบใหม่
นอกจากนี้ยังมีนักการศึกษาอีกท่านหนึ่งที่มีส่วนสำคัญในการผลักดันเรื่องการฎิรูปการเรียนรู้ดังกล่าวให้กว้างขวางขึ้น คือ เซอร์เคน โรบินสัน นักการศึกษาระดับโลก โดยได้เน้นยำ้ถึงความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงแนวคิดการจัดการศึกษาระบบโรงงาน มาเป็นการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้คิดอย่างสร้างสรรค์และเข้ากับบริบทของโลกที่ได้เปลี่ยนแปลงไป ชมแอนิเมชั่นด้านบน การเปลี่ยนแปลงแนวคิดด้านการศึกษาในศตวรรษที่ 21 (Changing Education Paradigms) โดย เซอร์เคน โรบินสัน
กรอบแนวคิดข้างต้นเองก็เป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาทักษะแห่งอนาคตใหม่ในประเทศไทยและท่านที่ริเริ่มและมีบทบาทสำคัญในการผลักดันได้แก่ ศ.นพ. วิจารณ์ พานิช โดยท่านได้เขียนลงบล็อก http://www.gotoknow.org อยู่เป็นประจำ รวมถึงได้เขียนหนังสือออกมาชื่อว่า วิถีสร้างการเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21
ที่มา : มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์
ครูต้องไม่สอน แต่ต้องออกแบบการเรียนรู้
และอำนวยความสะดวก (Facilitate)
การเรียนรู้ให้นักเรียนเรียนรู้
จากการเรียนแบบลงมือทำ หรือปฏิบัติแล้ว
การเรียนรู้ก็จะเกิดจากภายในและสมองของตนเอง การเรียนรู้แบบนี้เรียกว่า
PBL (Project-Based Learning)
Project Based Learning
In Project Based Learning (PBL), students go through an extended process of inquiry in response to a complex question, problem, or challenge. While allowing for some degree of student "voice and choice," rigorous projects are carefully planned, managed, and assessed to help students learn key academic content, practice 21st Century Skills (such as collaboration, communication & critical thinking), and create high-quality, authentic products & presentations.
Rigorous and in-depth Project Based Learning:
is organized around an open-ended Driving Question or Challenge. These focus students’ work and deepen their learning by centering on significant issues, debates, questions and/or problems.
creates a need to know essential content and skills. Typical projects (and most instruction) begin by presenting students with knowledge and concepts and then, once learned, give them the opportunity to apply them. PBL begins with the vision of an end product or presentation which requires learning specific knowledge and concepts, thus creating a context and reason to learn and understand the information and concepts.
requires inquiry to learn and/or create something new. Not all learning has to be based on inquiry, but some should. And this inquiry should lead students to construct something new – an idea, an interpretation, a new way of displaying what they have learned.
requires critical thinking, problem solving, collaboration, and various forms of communication. Students need to do much more than remember information—they need to use higher-order thinking skills. They also have to learn to work as a team and contribute to a group effort. They must listen to others and make their own ideas clear when speaking, be able to read a variety of material, write or otherwise express themselves in various modes, and make effective presentations. These skills, competencies and habits of mind are often known as "21st Century Skills".
allows some degree of student voice and choice. Students learn to work independently and take responsibility when they are asked to make choices. The opportunity to make choices, and to express their learning in their own voice, also helps to increase students’ educational engagement.
incorporates feedback and revision. Students use peer critique to improve their work to create higher quality products.
results in a publicly presented product or performance. What you know is demonstrated by what you do, and what you do must be open to public scrutiny and critique.
~provided by the Buck Institute for Education
Project-Based Learning
ทักษะดิจิตอลสำหรับครูศตวรรษที่ 2
เป็นผลเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ในปัจจุบันทำให้เกิดแนวคิดใหม่ทางการศึกษามากมายอย่างที่ไม่คาดคิดมาก่อน นักเรียนต่างให้ความสนใจกับเทคโนโลยีดิจิตอลมากกว่าครั้งใดๆ ที่ผ่านมา พวกเขาใช้เวลากับสิ่งเหล่านั้นมากกว่ากับผู้ปกครองหรือคนใกล้ชิดเสียอีก ซึ่งต้องยอมรับกันว่าการเกิดขึ้นของเทคโนโลยีมีผลทั้งทางบวกและทางลบต่อนักเรียน ที่ให้ผลในทางลบที่พึงใส่ใจ เช่น ขาดความเอาใจใส่ ช่วงความสนใจสั้น ใจลอย หมกมุ่น ขาดปฏิสัมพันธ์ทางสังคม เก็บตัว ซึมเศร้า และอื่นๆ อีกมาก แต่อย่างไรก็ตาม ผลในทางบวกก็มีเช่นกัน เป็นเหรียญอีกด้านหนึ่งที่ต้องยอมรับความจริงกันว่าการสอนในโลกปัจจุบันจะต้องแตกต่างไปจากศตวรรษที่ผ่านมา ดังนั้นครูในศตวรรษที่ 21 ควรมีทักษะดิจิตอล (digital skills) ดังนี้
ทักษะการใช้โปรแกรม “digital voice editor” เช่น บันทึกข้อความใน IC recorder ลงฮาร์ดดิสก์ของคอมพิวเตอร์ หรือการบันทึกไฟล์เสียงจากคอมพิวเตอร์ลง IC recorder เล่นและตัดต่อข้อความลงคอมพิวเตอร์ หรือการส่งข้อความที่เป็นอีเมล์เสียงโดยใช้ซอฟแวร์ MAPI อีเมล์ เป็นต้น
ทักษะการจัดเก็บ URL / รายชื่อเว็บที่สนใจไว้เป็นหมวดหมู่และแลกเปลี่ยนกับผู้เรียน
ทักษะการใช้ “blog” และ “wiki” เพื่อสร้างระบบออนไลน์สำหรับนักเรียน
ทักษะการจับภาพจากสิ่งแวดล้อมหรือทำสำเนาภาพจากเอกสารให้อยู่ในรูปแบบของอิเล็กทรอนิกส์ เช่น รูปถ่าย เอกสารที่เขียนด้วยมือ หรือเอกสารพิมพ์ เป็นต้น เพื่อนำมาใช้ในห้องเรียน
ทักษะการสร้างเนื้อหาวิดีโอกระตุ้นความสนใจของนักเรียน
ทักษะเกี่ยวกับ “infographics” คือ การเอาข้อมูลที่เข้าใจยากหรือข้อมูลจำนวนมากมานำเสนอในรูปแบบต่างๆ อย่างสร้างสรรค์
ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อการสื่อสารและพัฒนาวิชาชีพ
ทักษะการสร้างรูปแบบการฝึกอบรมหรือการเรียนรู้ที่ผู้สอนและผู้เรียนไม่จำเป็นต้องพบกันตามเวลาในตารางที่กำหนดไว้ (synchronous learning) แต่สามารถติดต่อกันได้ตลอดเวลา โดยใช้เครื่องมือสื่อสารต่าง ๆ ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของเวลา และสถานที่ ผู้เรียนสามารถเรียนที่ไหนเวลาใดก็ได้ (anywhere anytime)
ทักษะในการสร้างและเผยแพร่แฟ้มสะสมงาน (portfolio) ในระบบออนไลน์ผ่านทางอินเตอร์เน็ต สำหรับบุคคลและองค์กรต่างๆ ที่ต้องการสะสมผลงาน เพื่อเก็บไว้เป็นข้อมูลสำหรับการนำเสนอ ตรวจสอบการเรียนรู้หรือการทำงานว่าประสบผลสำเร็จระดับใด
มีความรู้เกี่ยวกับระบบปกป้องความปลอดภัยในระบบออนไลน์
สามารถป้องกันการลอกเลียนแบบงานที่มอบหมายให้นักเรียน
ทักษะในการทำวีดีโอสอนและแบบฝึกสอนต่างๆ
ทักษะการเขียนและเรียบเรียงบทความสำหรับเว็บไซด์เพื่อการสอน
สามารถใช้ “task management tools” เพื่อการวางแผนและการเรียนรู้
สามารถใช้ “polling software” เพื่อสำรวจชั้นเรียน
เข้าใจประเด็นเกี่ยวกับลิขสิทธิ์และกติกาที่ใช้ในออนไลน์
ใช้เกมส์คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอน
สามารถใช้เครื่องมือการประเมินดิจิตอล
สามารถใช้ “collaborative tools” เพื่อจัดทำตำราหรือการปรับแก้ไขตำรา
สามารถค้นหาและประเมินเนื้อหาที่ปรากฏตามเว็บต่างๆ
สามารถใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ เช่น แท็ปเล็ต (tablet)
แนะนำแหล่งข้อมูลออนไลน์ที่ดีให้นักเรียนค้นหา
สามารถใช้เครื่องดิจิตอลเพื่อการบริหารเวลา
วิธีการใช้รูปแบบต่างๆ ของ “YouTube” ในห้องเรียน
ใช้ “note taking tools” เพื่อแลกเปลี่ยนเนื้อหากับนักเรียน
สามารถใช้ “annotation” คือ การใส่ตัวอักษร ลูกศร หรือเครื่องหมายสัญลักษณ์ต่าง ๆ เพื่อแสดงจุดสนใจบนภาพ / PDF หรือในเนื้อหา
สามารถใช้โปรแกรมจัดภาพ โปรแกรม หรือแผนภาพ และพิมพ์ออกมา
สามารถใช้ “online sticky notes” เพื่อแสดงแนวคิดที่น่าสนใจ
สามารถใช้ “screen casting tools” เพื่อการเรียนการสอน
สามารถใช้ “group text messaging tools” เพื่อจัดทำโครงงานร่วมมือออนไลน์
สามารถตั้งประเด็นเพื่อการสืบค้นโดยใช้เวลาน้อยเท่าที่จะทำได้
สามารถทำเอกสารงานวิจัยโดยเครื่องมือดิจิตอล
สามารถใช้ “file sharing tools” แลกเปลี่ยนไฟล์กับนักเรียนแบบออนไลน์
Kharbach, M. (2012). The 33 digital skills every 21st century teacher should have. Retreived January 18, 2013 from http://www.educatorstechnology.com/2012/06/33-digital-skills-every-21st-century.html
ที่มาข้อมูล : http://wirot.edublogs.org หนังสือ “กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษา: กรณีทัศนะต่อการศึกษาศตวรรษที่ 21 – 2556″ (ต้นฉบับร่างขอบข่ายเนื้อหา)
Source: http://educationtechnologysolutions.com.au/2012/07/13/cyberchat-21st-century-teachers-and-digital-parents/
ห้องเรียนและอาคารแห่งศตวรรษที่ 21
อาคารเรียนและห้องเรียนในศตวรรษที่ ๒๑
โดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช
๒๓ พ.ย. ๕๕
การศึกษาในศตวรรษที่ ๒๑ เปลี่ยนไปจากเดิม (ศตวรรษที่ ๒๐) อย่างมากมาย รูปแบบการเรียนรู้ในห้องเรียนเปลี่ยนจากการถ่ายทอดหรือบอกความรู้ (สมัยผมเรียน ครูบอกให้จด แม้ตอนเรียนมหาวิทยาลัย ก็ยังเป็นการเล็กเชอร์ให้จด) มาเป็นเรียนโดย นร./นศ. ทำกิจกรรมเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจขึ้นในสมองและจิตใจของตน
ห้องเรียนจึงต้องเปลี่ยนจาก “ห้องเรียนโดยครูสอนหน้าชั้น” มาเป็น “ห้องเรียนโดย นร. ลงมือทำเป็นทีม” การออกแบบก่อสร้างห้องเรียนจึงต้องเปลี่ยนไป จากออกแบบ classroom เป็นออกแบบ studio (ห้องทำงาน) เพราะเวลานี้ นร. ต้องเรียนโดยการ “ทำงาน” หรือเรียนโดยลงมือทำ
ผมจึงตั้งข้อสังเกต/คำถาม ว่า เวลานี้หน่วยงานในกระทรวงศึกษาธิการ (และในมหาวิทยาลัย) ที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบอาคาร ทราบแล้วหรือยัง ว่าต้องเปลี่ยนแบบมาตรฐานของห้องเรียนเสียใหม่ สถาปนิกผู้เชี่ยวชาญการออกแบบอาคารการศึกษา ทราบเรื่องนี้แล้วหรือยัง
สถาปัตยกรรมมีส่วนช่วยหนุน หรือขัด การเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ วงการสถาปัตยกรรมไทย ตระหนักถึงความจำเป็น ที่จะต้องเปลี่ยนหลักการออกแบบโครงสร้างทางกายภาพ ให้สอดคล้องกับการเรียนในศตวรรษที่ ๒๑ แล้วหรือยัง
วงการออกแบบโรงเรียนและมหาวิทยาลัย น่าจะได้มีการสัมมนากันสักครั้ง ว่ารูปแบบที่เหมาะสมของอาคาร และบริเวณโรงเรียน สำหรับศตวรรษที่ ๒๑ ควรเป็นอย่างไร และน่าจะมีการประกวด อาคารสถานที่โรงเรียนแห่งศตวรรษที่ ๒๑
ที่มา: http://lripsm.wix.com/21st#!-21/c6he
โดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช
๒๓ พ.ย. ๕๕
การศึกษาในศตวรรษที่ ๒๑ เปลี่ยนไปจากเดิม (ศตวรรษที่ ๒๐) อย่างมากมาย รูปแบบการเรียนรู้ในห้องเรียนเปลี่ยนจากการถ่ายทอดหรือบอกความรู้ (สมัยผมเรียน ครูบอกให้จด แม้ตอนเรียนมหาวิทยาลัย ก็ยังเป็นการเล็กเชอร์ให้จด) มาเป็นเรียนโดย นร./นศ. ทำกิจกรรมเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจขึ้นในสมองและจิตใจของตน
ห้องเรียนจึงต้องเปลี่ยนจาก “ห้องเรียนโดยครูสอนหน้าชั้น” มาเป็น “ห้องเรียนโดย นร. ลงมือทำเป็นทีม” การออกแบบก่อสร้างห้องเรียนจึงต้องเปลี่ยนไป จากออกแบบ classroom เป็นออกแบบ studio (ห้องทำงาน) เพราะเวลานี้ นร. ต้องเรียนโดยการ “ทำงาน” หรือเรียนโดยลงมือทำ
ผมจึงตั้งข้อสังเกต/คำถาม ว่า เวลานี้หน่วยงานในกระทรวงศึกษาธิการ (และในมหาวิทยาลัย) ที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบอาคาร ทราบแล้วหรือยัง ว่าต้องเปลี่ยนแบบมาตรฐานของห้องเรียนเสียใหม่ สถาปนิกผู้เชี่ยวชาญการออกแบบอาคารการศึกษา ทราบเรื่องนี้แล้วหรือยัง
สถาปัตยกรรมมีส่วนช่วยหนุน หรือขัด การเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ วงการสถาปัตยกรรมไทย ตระหนักถึงความจำเป็น ที่จะต้องเปลี่ยนหลักการออกแบบโครงสร้างทางกายภาพ ให้สอดคล้องกับการเรียนในศตวรรษที่ ๒๑ แล้วหรือยัง
วงการออกแบบโรงเรียนและมหาวิทยาลัย น่าจะได้มีการสัมมนากันสักครั้ง ว่ารูปแบบที่เหมาะสมของอาคาร และบริเวณโรงเรียน สำหรับศตวรรษที่ ๒๑ ควรเป็นอย่างไร และน่าจะมีการประกวด อาคารสถานที่โรงเรียนแห่งศตวรรษที่ ๒๑
ที่มา: http://lripsm.wix.com/21st#!-21/c6he
โรงเรียนแห่งศตวรรษที่ 21
MUIDS โรงเรียนแห่งศตวรรษที่ ๒๑
โดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช
๒๓ พ.ย. ๕๕
ในการประชุมสภามหาวิทยาบัยมหิดล เมื่อวันที่ ๑๗ ต.ค. ๕๕ มีวาระ รายงานความคืบหน้าและแผนการดำเนินงาน โครงการจัดตั้งโรงเรียนสาธิตนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเมื่อผมฟังแล้ว ก็บอกตัวเองว่า นี่คือโรงเรียนแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ในระดับมัธยมศึกษา
โดย ดร. เพ็ญนี หล่อวัฒนพงษา ผู้รักษาการในตำแหน่ง ผอ. โรงเรียนบอกว่า โรงเรียนมีเป้าหมายของการเรียนรู้ดังต่อไปนี้ (คัดมาจากรายงานการประชุมสภามหาวิทยาลัยมหิดล ครั้งที่ ๔๖๕)
"มีการจัดการศึกษาที่พัฒนานักเรียนให้เป็นต้นแบบของการเรียนรู้ที่เสริมสร้างทั้งทักษะชีวิต และทักษะความรู้ โดยนำเรื่องจิตวิญญาณ และมโนสำนึกของชาวมหิดล ความภาคภูมิใจในความเป็นไทยและเป็นพลเมืองดีของประเทศ มีวิสัยทัศน์และกระบวนการคิดแบบสากล ความตระหนักถึงหน้าที่และความรับผิดชอบในฐานะที่เป็นพลโลก และความสามารถที่จะดำรงชีวิตอย่างมีความสุขในสังคมพหุวัฒนธรรม โดยโรงเรียนสาธิตนานาชาติจะเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีการศึกษาวิจัยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผลของการวิจัยจะนำมาปฏิรูปกระบวนการเรียนการสอนและการบริหารจัดการให้เป็นแบบอย่างของสถานศึกษาที่มีคุณภาพในระดับมัธยมศึกษา ทั้งนี้ จะมีความแตกต่างจากโรงเรียนทั่วไปดังนี้
โรงเรียนทั่วไป
โรงเรียนสาธิตนานาชาติ
เน้นการท่องจำและเลียนแบบ
เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์สังเคราะห์และการแก้ปัญหา
เรียนรู้จากตำรา
เรียนรู้จากสถานการณ์จริง
สอนเนื้อหา
เน้นกระบวนการเรียนรู้
หลักเลี่ยงข้อผิดพลาด
เรียนรู้จากข้อผิดพลาด
Passive Learners
Active-Reflective-Generative Learners
เรียนรู้จากครู
เรียนรู้จากหลากหลายแหล่งความรู้
ครูถาม-นักเรียนตอบ
Inquiry Learning
โรงเรียนสาธิตนานาชาติ นับเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่มีเอกลักษณ์เฉพาะและโดดเด่นด้วยการผสานความร่วมมือจากคณะ/สถาบันและหน่วยงานต่างๆของมหาวิทยาลัยอาทิวิทยาลัยนานาชาติ, วิทยาลัยดุริยางคศิลป์, คณะวิทยาศาสตร์, คณะศิลปศาสตร์, คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ,สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้, คณะทันตแพทยศาสตร์,วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬาและศูนย์จิตตปัญญาศึกษาโดยคณะกรรมการอำนวยการ และคณะกรรมการหลักสูตร ได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากภาคส่วนต่างๆ ได้แก่ กลุ่มผู้ปกครองกลุ่มนักเรียน นักศึกษากลุ่มผู้บริหารและเจ้าของโรงเรียนนานาชาติ โรงเรียน E.P. และโรงเรียนทางเลือก
สำหรับแนวทางการวางหลักสูตร ได้มีการศึกษา Core Value ของมหาวิทยาลัยมหิดล ให้เป็นลักษณะพึงประสงค์ของผู้เรียน มีตัวชี้วัดที่ประเมินได้ และอยู่ในทุกสาระการเรียนรู้ทั้ง ๘ สาระด้วยกัน โดยนำเอาความรู้และทักษะของศตวรรษที่ ๒๑ และของประชาคมอาเซียน ส่วนการเรียนรู้จะนำมากระบวนการเรียนรู้ที่ได้รับการวิจัยว่าเป็น Best Practice ซึ่งจะใช้จิตคุณธรรมของชาวมหิดล ดังนี้
จิตคุณธรรม
ของชาวมหิดล
ศตวรรษที่๒๑ และ
ประชาคมอาเซียน
กระบวนการเรียนรู้
เป็นผู้มียุทธศาสตร์ในการเรียนรู้
คิดพิจารณาทบทวนการศึกษาของตนเองและเรียนรู้จากข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น
กระบวนการสืบสาวค้นคว้าด้วยตนเอง และเรียนรู้จากประสบการณ์
เป็นผู้สื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ
ทักษะเทคโนโลยีสารสนเทศและทักษะการสื่อสาร
ฟังข้อมูลที่หลากหลายคิดวิเคราะห์และเข้าใจสิ่งที่รับฟังได้ อย่างมีวิจารณญาณพูดแสดงความคิดเห็นและโต้ตอบได้อย่างเหมาะสมและมีกาลเทศะ
เป็นนักคิดเชิงสร้างสรรค์
ทักษะในการคิดสร้างสรรค์การคิดวิเคราะห์สังเคราะห์ทักษะในการแก้ปัญหา
การจัดการเรียนรู้ด้วยโครงงานหรือภาระงานเพื่อการแก้ปัญหาที่ยั่งยืน
จิตคุณธรรม
ของชาวมหิดล
ศตวรรษที่๒๑ และ
ประชาคมอาเซียน
กระบวนการเรียนรู้
เป็นพลเมืองโลกที่มีจิตใจมุ่งมั่นเพื่อส่วนรวม
เป็นพลเมืองดีของประเทศ/โลก เข้าใจ/เข้าถึงวัฒนธรรมที่หลากหลาย
การเรียนรู้นอกห้องเรียนพัฒนาจิตอาสาด้วยการรับใช้สังคม
เป็นผู้มีจิตตปัญญา
มีความรับผิดชอบต่อตนเอง/สังคม
ฝึกสมาธิค่ายคุณธรรม
เป็นผู้นำในอนาคต
กำหนดเป้าหมายในการดำเนินชีวิตและเป้าหมายการศึกษา
พัฒนาทักษะการเป็นผู้นำและทักษะในการทำงานกลุ่มและมีความมุ่งมั่นเพื่ออนาคตทำกิจกรรมสภานักเรียน
เด็กที่เรียนที่โรงเรียนสาธิตนานาชาติฯ จะได้เรียนวิชาวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ ภาษาอังกฤษที่สอนให้เป็นผู้ที่มีจิตปัญญา มีความรับผิดชอบ และรู้จักการตัดสินใจ โดยมีตัวชี้วัด เพื่อให้เห็นว่า การเรียนการสอนที่วางไว้ ทั้งวิชาพื้นฐาน วิชาเลือก และกิจกรรมเสริมหลักสูตร จะสอดคล้องกัน ซึ่งใน ๓ ปีให้ได้หน่วยกิตของทางนานาชาติโดยอิงหลักสูตรอเมริกัน และของไทย ที่สำคัญ คือต้องการให้สามารถนำมาบูรณาการ ทำโครงการแก้ปัญหา หรือทำจิตอาสา เป็นโรงเรียนไร้ผนัง ซึ่งเป็นโครงการที่ทุกปีจะต้องออกไปเรียนรู้จากสถานที่จริง สำหรับรายวิชาและวิชาเลือกหรือ pathway to college (ตามแผนการศึกษาของผู้เรียนแต่ละคน) ซึ่งส่วนงานต่างๆ ก็ได้เข้ามาให้ความร่วมมือด้วย
ทั้งนี้ คาดว่า จะเปิดโรงเรียนฯ ประมาณเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๕๖ โดยใช้สถานที่ของคณะพยาบาลศาสตร์ ก่อน และจึงย้ายไปที่สถานก่อสร้างใหม่ของโรงเรียน ในปี ๒๕๕๗"
MUIDS (Mahidol University International Demonstration School) ไม่ได้แค่มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดบริการการศึกษาแก่เด็กเท่านั้น แต่วัตถุประสงค์ใหญ่ คือเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปการเรียนรู้ของประเทศไทย
ที่มา: http://lripsm.wix.com/21st#!-21/c6he
โดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช
๒๓ พ.ย. ๕๕
ในการประชุมสภามหาวิทยาบัยมหิดล เมื่อวันที่ ๑๗ ต.ค. ๕๕ มีวาระ รายงานความคืบหน้าและแผนการดำเนินงาน โครงการจัดตั้งโรงเรียนสาธิตนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเมื่อผมฟังแล้ว ก็บอกตัวเองว่า นี่คือโรงเรียนแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ในระดับมัธยมศึกษา
โดย ดร. เพ็ญนี หล่อวัฒนพงษา ผู้รักษาการในตำแหน่ง ผอ. โรงเรียนบอกว่า โรงเรียนมีเป้าหมายของการเรียนรู้ดังต่อไปนี้ (คัดมาจากรายงานการประชุมสภามหาวิทยาลัยมหิดล ครั้งที่ ๔๖๕)
"มีการจัดการศึกษาที่พัฒนานักเรียนให้เป็นต้นแบบของการเรียนรู้ที่เสริมสร้างทั้งทักษะชีวิต และทักษะความรู้ โดยนำเรื่องจิตวิญญาณ และมโนสำนึกของชาวมหิดล ความภาคภูมิใจในความเป็นไทยและเป็นพลเมืองดีของประเทศ มีวิสัยทัศน์และกระบวนการคิดแบบสากล ความตระหนักถึงหน้าที่และความรับผิดชอบในฐานะที่เป็นพลโลก และความสามารถที่จะดำรงชีวิตอย่างมีความสุขในสังคมพหุวัฒนธรรม โดยโรงเรียนสาธิตนานาชาติจะเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีการศึกษาวิจัยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผลของการวิจัยจะนำมาปฏิรูปกระบวนการเรียนการสอนและการบริหารจัดการให้เป็นแบบอย่างของสถานศึกษาที่มีคุณภาพในระดับมัธยมศึกษา ทั้งนี้ จะมีความแตกต่างจากโรงเรียนทั่วไปดังนี้
โรงเรียนทั่วไป
โรงเรียนสาธิตนานาชาติ
เน้นการท่องจำและเลียนแบบ
เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์สังเคราะห์และการแก้ปัญหา
เรียนรู้จากตำรา
เรียนรู้จากสถานการณ์จริง
สอนเนื้อหา
เน้นกระบวนการเรียนรู้
หลักเลี่ยงข้อผิดพลาด
เรียนรู้จากข้อผิดพลาด
Passive Learners
Active-Reflective-Generative Learners
เรียนรู้จากครู
เรียนรู้จากหลากหลายแหล่งความรู้
ครูถาม-นักเรียนตอบ
Inquiry Learning
โรงเรียนสาธิตนานาชาติ นับเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่มีเอกลักษณ์เฉพาะและโดดเด่นด้วยการผสานความร่วมมือจากคณะ/สถาบันและหน่วยงานต่างๆของมหาวิทยาลัยอาทิวิทยาลัยนานาชาติ, วิทยาลัยดุริยางคศิลป์, คณะวิทยาศาสตร์, คณะศิลปศาสตร์, คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ,สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้, คณะทันตแพทยศาสตร์,วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬาและศูนย์จิตตปัญญาศึกษาโดยคณะกรรมการอำนวยการ และคณะกรรมการหลักสูตร ได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากภาคส่วนต่างๆ ได้แก่ กลุ่มผู้ปกครองกลุ่มนักเรียน นักศึกษากลุ่มผู้บริหารและเจ้าของโรงเรียนนานาชาติ โรงเรียน E.P. และโรงเรียนทางเลือก
สำหรับแนวทางการวางหลักสูตร ได้มีการศึกษา Core Value ของมหาวิทยาลัยมหิดล ให้เป็นลักษณะพึงประสงค์ของผู้เรียน มีตัวชี้วัดที่ประเมินได้ และอยู่ในทุกสาระการเรียนรู้ทั้ง ๘ สาระด้วยกัน โดยนำเอาความรู้และทักษะของศตวรรษที่ ๒๑ และของประชาคมอาเซียน ส่วนการเรียนรู้จะนำมากระบวนการเรียนรู้ที่ได้รับการวิจัยว่าเป็น Best Practice ซึ่งจะใช้จิตคุณธรรมของชาวมหิดล ดังนี้
จิตคุณธรรม
ของชาวมหิดล
ศตวรรษที่๒๑ และ
ประชาคมอาเซียน
กระบวนการเรียนรู้
เป็นผู้มียุทธศาสตร์ในการเรียนรู้
คิดพิจารณาทบทวนการศึกษาของตนเองและเรียนรู้จากข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น
กระบวนการสืบสาวค้นคว้าด้วยตนเอง และเรียนรู้จากประสบการณ์
เป็นผู้สื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ
ทักษะเทคโนโลยีสารสนเทศและทักษะการสื่อสาร
ฟังข้อมูลที่หลากหลายคิดวิเคราะห์และเข้าใจสิ่งที่รับฟังได้ อย่างมีวิจารณญาณพูดแสดงความคิดเห็นและโต้ตอบได้อย่างเหมาะสมและมีกาลเทศะ
เป็นนักคิดเชิงสร้างสรรค์
ทักษะในการคิดสร้างสรรค์การคิดวิเคราะห์สังเคราะห์ทักษะในการแก้ปัญหา
การจัดการเรียนรู้ด้วยโครงงานหรือภาระงานเพื่อการแก้ปัญหาที่ยั่งยืน
จิตคุณธรรม
ของชาวมหิดล
ศตวรรษที่๒๑ และ
ประชาคมอาเซียน
กระบวนการเรียนรู้
เป็นพลเมืองโลกที่มีจิตใจมุ่งมั่นเพื่อส่วนรวม
เป็นพลเมืองดีของประเทศ/โลก เข้าใจ/เข้าถึงวัฒนธรรมที่หลากหลาย
การเรียนรู้นอกห้องเรียนพัฒนาจิตอาสาด้วยการรับใช้สังคม
เป็นผู้มีจิตตปัญญา
มีความรับผิดชอบต่อตนเอง/สังคม
ฝึกสมาธิค่ายคุณธรรม
เป็นผู้นำในอนาคต
กำหนดเป้าหมายในการดำเนินชีวิตและเป้าหมายการศึกษา
พัฒนาทักษะการเป็นผู้นำและทักษะในการทำงานกลุ่มและมีความมุ่งมั่นเพื่ออนาคตทำกิจกรรมสภานักเรียน
เด็กที่เรียนที่โรงเรียนสาธิตนานาชาติฯ จะได้เรียนวิชาวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ ภาษาอังกฤษที่สอนให้เป็นผู้ที่มีจิตปัญญา มีความรับผิดชอบ และรู้จักการตัดสินใจ โดยมีตัวชี้วัด เพื่อให้เห็นว่า การเรียนการสอนที่วางไว้ ทั้งวิชาพื้นฐาน วิชาเลือก และกิจกรรมเสริมหลักสูตร จะสอดคล้องกัน ซึ่งใน ๓ ปีให้ได้หน่วยกิตของทางนานาชาติโดยอิงหลักสูตรอเมริกัน และของไทย ที่สำคัญ คือต้องการให้สามารถนำมาบูรณาการ ทำโครงการแก้ปัญหา หรือทำจิตอาสา เป็นโรงเรียนไร้ผนัง ซึ่งเป็นโครงการที่ทุกปีจะต้องออกไปเรียนรู้จากสถานที่จริง สำหรับรายวิชาและวิชาเลือกหรือ pathway to college (ตามแผนการศึกษาของผู้เรียนแต่ละคน) ซึ่งส่วนงานต่างๆ ก็ได้เข้ามาให้ความร่วมมือด้วย
ทั้งนี้ คาดว่า จะเปิดโรงเรียนฯ ประมาณเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๕๖ โดยใช้สถานที่ของคณะพยาบาลศาสตร์ ก่อน และจึงย้ายไปที่สถานก่อสร้างใหม่ของโรงเรียน ในปี ๒๕๕๗"
MUIDS (Mahidol University International Demonstration School) ไม่ได้แค่มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดบริการการศึกษาแก่เด็กเท่านั้น แต่วัตถุประสงค์ใหญ่ คือเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปการเรียนรู้ของประเทศไทย
ที่มา: http://lripsm.wix.com/21st#!-21/c6he
การพัฒนาครูในศตวรรษที่ 21
การพัฒนาครูในศตวรรษที่ ๒๑
โดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช
๒๐ พ.ย.๕๕
ที่จริงบันทึกนี้เกี่ยวข้องกับการพัฒนาครูของประเทศไทย ในบริบทปัจจุบัน และผมเขียนบันทึกนี้จากแรงบันดาลใจ ที่ได้เข้าร่วมประชุม ๒ การประชุมในวันที่ ๑๙ และ ๒๐ พ.ย.๕๕ ติดกันสองวัน และเกี่ยวข้องกับ สสค. ทั้งสองวัน คือวันที่ ๑๙ พ.ย. เป็นการประชุม เสวนาโต๊ะกลมนานาชาติทางการศึกษา ครั้งที่ ๑ จัดโดย สสค. ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยจัดที่ห้องประชุมสัญญา ธรรมศักดิ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ มี Assoc. Prof. Ora Kwo คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮ่องกง มาปาฐกถานำเรื่อง “Teachers’ Challenges in 21st Century : Pedagogy, Standardized Testing, and Paychecks” ตามด้วยการเสวนาโต๊ะกลม ๒ เรื่อง คือ “บทบาทหน้าที่ของครู และการทดสอบมาตรฐานในศตวรรษที่ ๒๑” และ “การวัดผลการทำงานครู และการผูกโยงเงินเดือนครูเข้ากับคะแนนการทดสอบมาตรฐาน” การประชุมนี้จัดช่วงเช้า
ส่วนการประชุมวันที่ ๒๐ จัดช่วงบ่าย จัดโดย สกว. กับสถาบันรามจิตติ แต่ไปใช้สถานที่ที่ สสค. เรื่อง “โครงการจับกระแสความเคลื่อนไหว และนวัตกรรมในการจัดการศึกษาและพัฒนาเด็กและเยาวชน” มี ดร. จุฬากรณ์ มาเสถียรวงศ์ เสนอผลการทบทวนองค์ความรู้ เรื่อง “จับกระแสการพัฒนาครูใน ศตวรรษที่ ๒๑ : ข้อคิดและทิศทางเพื่อการพัฒนาครูไทย” ซึ่งทบทวนความรู้สากลมาได้กว้างขวาง แต่ยังเก็บข้อมูลของไทยมาได้น้อย โดยข้อสรุปที่สำคัญยิ่งที่ได้จากการทบทวนความรู้ของ ดร. จุฬากรณ์ คือยุทธศาสตร์สำคัญที่สุดของการพัฒนาการศึกษาที่เวลานี้ใช้กันทั่วโลก คือเน้นที่การพัฒนาครู
ที่จริงเมื่อจบการประชุมวันแรก ผมก็มีความสุขมาก ที่เห็นช่องทางการพัฒนาครูไทยชัดเจนแจ๋วแหวว ตามมุมมองของผม ซึ่งเป็นการมองหลักการ ส่วนการดำเนินการจริงนั้น สิ่งน่าหนักใจคือยุทธศาสตร์ Change Management หรืออุปสรรคในการเปลี่ยนแปลงระบบนั่นเอง
ในการประชุมวันที่ ๒ ผมจึงฟันธงเสนอที่ประชุม ว่าวิธีพัฒนาครูไทยที่จะให้ได้ผลต้องเริ่มที่การให้คุณ (reward) แก่ครู ผ่านผลงานการยกระดับผลสัมฤทธิ์ในการเรียน (Learning Outcomes) ของศิษย์ โดยหน่วยงานต้นสังกัดและโครงการพิเศษต่างๆ เข้าไปส่งเสริม(empower)ให้ครู โรงเรียน เขตพื้นที่การศึกษา หรือชุมชน ที่รวมตัวกันทำแผนยุทธศาสตร์และดำเนินการยกระดับผลสัมฤทธิ์ในการเรียนของนักเรียน
การ empower ดังกล่าวทำโดยส่งเสริมการเรียนรู้ของครู ให้ทำหน้าที่ครูในศตวรรษที่ ๒๑ ได้ดีขึ้น ให้ครูรวมตัวกันเรียนรู้จากการทำงานประจำ คือหน้าที่ครูในศตวรรษที่ ๒๑ ซึ่งต้องไม่เน้นสอนสาระวิชา แต่เน้นสร้างแรงบันดาลใจ และอำนวยความสะดวกในการเรียนแบบลงมือทำของนักเรียน การรวมตัวกันเรียนรู้จากการทำหน้าที่ครูนี้ เรียกว่า PLC (Professional Learning Community)
จะให้รางวัลแก่ครูได้ ต้องมีหลักฐานว่าครูได้ทำหน้าที่ยกระดับผลสัมฤทธิ์ในการเรียนของศิษย์ได้ผลดีกว่าเดิมจริง ซึ่งทางกระทรวงศึกษาฯ ได้มีดำริว่า จะผูกโยงเงินเดือนครูเข้ากับคะแนนการทดสอบมาตรฐานของศิษย์ และในวงเสวนาเมื่อวันที่ ๑๙ พ.ย. ครูและ ผอ. สถานศึกษาหลายแห่งมาบอกว่าเป็นวิธีคิดที่ตื้นเขินเกินไป เพราะการทดสอบมาตรฐานนั้น วัดเพียง ๑ ด้านใน ๔ ด้านของการเรียนรู้เท่านั้น นอกจากนั้นเด็กนักเรียนของต่างโรงเรียนอาจมีขีดความสามารถหรือพื้นฐานแตกต่างกันมาก จากการประชุม ผมคิดว่า ได้มติที่ชัดว่า ควรผูกโยงเงินเดือนหรือการให้คุณแก่ครูและผู้บริหารการศึกษา เข้ากับผลสัมฤทธิ์ในการเรียนของนักเรียนที่ตนรับผิดชอบ โดยมีวิธีวัดผลสัมฤทธิ์ที่รอบด้าน และดูที่ผลสัมฤทธิ์ที่เพิ่มขึ้นจากฐานเดิม ซึ่งผมคิดว่าต้องมีวิธีวัดทักษะ (แห่งศตวรรษที่ ๒๑) สำคัญ รวมทั้งให้ครูมีส่วนสร้างสรรค์วิธีวัดผลสัมฤทธิ์ด้านที่เป็นามธรรม และด้านคุณลักษณะด้วย
นั่นหมายความว่า กระทรวงศึกษาฯ ต้องเลิกคิดพัฒนาครูโดยการจับมาเข้าหลักสูตรฝึกอบรมตามที่ตนจัด ควรเอาเงินจำนวนนั้นไปสนับสนุนการจัดกิจกรรม PLC ของครู คือต้องพัฒนาครูโดยเน้นที่ Learning ไม่ใช่ที่ Training หรือใช้ในสัดส่วน Learning : Training = 80-90 : 10-20 และส่วน Training นั้น ให้ตัวครูเองเป็นผู้ตัดสินใจบอกความต้องการเองว่าต้องการเรียนอะไร จากหลักสูตรฝึกอบรมใด
Learning ในที่นี้คือ in-service learning หรือ PLC นั่นเอง
ผมได้เสนอที่ประชุมว่า เรื่องการพัฒนาครูในภาพใหญ่นั้น น่าจะพิจารณาสถาบันผลิตครู ซึ่งก็คือคณะศึกษาศาสตร์ ครุศาสตร์ นั่นเอง ผมคิดว่า สถาบันเหล่านี้ที่มีอยู่ในปัจจุบัน เป็นรูปแบบของสถาบันผลิตครูแห่งศตวรรษที่ ๒๐ เวลานี้ประเทศที่ครูมีคุณภาพเขาไม่ได้ผลิตครูแบบที่เราทำกันแล้ว และตัวสถาบันเขาก็เปลี่ยนแปลงไปมากมาย เป็นสถาบันผลิตครูแห่งศตวรรษที่ ๒๑ แต่ของเรายังคงที่ยึดมั่นอยู่กับรูปแบบของศตวรรษที่ ๒๐
ผมเสนอในย่อหน้าบนด้วยความเจียมตนว่าอาจเป็นความเห็นที่ผิด แต่ท่าน ศ. สุมน อมรวิวัฒน์ ท่านบอกว่า ท่านเสนอตามที่ผมพูดเป๊ะตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๕ แต่ไม่มีคนยอมทำตาม
สรุปอีกทีว่า การพัฒนาครูในศตวรรษที่ ๒๑ ต้องเน้นที่การเรียนรู้ของครู ที่เป็นการเรียนรู้จากการทำหน้าที่ครูโดยตรง เพื่อให้ทำหน้าที่ครูได้ผลดีขึ้น โดยวัดที่ผลการเรียนของศิษย์ เน้นที่การเรียนให้ได้ทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑
ที่มา: http://lripsm.wix.com/21st#!-21/c6he
โดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช
๒๐ พ.ย.๕๕
ที่จริงบันทึกนี้เกี่ยวข้องกับการพัฒนาครูของประเทศไทย ในบริบทปัจจุบัน และผมเขียนบันทึกนี้จากแรงบันดาลใจ ที่ได้เข้าร่วมประชุม ๒ การประชุมในวันที่ ๑๙ และ ๒๐ พ.ย.๕๕ ติดกันสองวัน และเกี่ยวข้องกับ สสค. ทั้งสองวัน คือวันที่ ๑๙ พ.ย. เป็นการประชุม เสวนาโต๊ะกลมนานาชาติทางการศึกษา ครั้งที่ ๑ จัดโดย สสค. ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยจัดที่ห้องประชุมสัญญา ธรรมศักดิ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ มี Assoc. Prof. Ora Kwo คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮ่องกง มาปาฐกถานำเรื่อง “Teachers’ Challenges in 21st Century : Pedagogy, Standardized Testing, and Paychecks” ตามด้วยการเสวนาโต๊ะกลม ๒ เรื่อง คือ “บทบาทหน้าที่ของครู และการทดสอบมาตรฐานในศตวรรษที่ ๒๑” และ “การวัดผลการทำงานครู และการผูกโยงเงินเดือนครูเข้ากับคะแนนการทดสอบมาตรฐาน” การประชุมนี้จัดช่วงเช้า
ส่วนการประชุมวันที่ ๒๐ จัดช่วงบ่าย จัดโดย สกว. กับสถาบันรามจิตติ แต่ไปใช้สถานที่ที่ สสค. เรื่อง “โครงการจับกระแสความเคลื่อนไหว และนวัตกรรมในการจัดการศึกษาและพัฒนาเด็กและเยาวชน” มี ดร. จุฬากรณ์ มาเสถียรวงศ์ เสนอผลการทบทวนองค์ความรู้ เรื่อง “จับกระแสการพัฒนาครูใน ศตวรรษที่ ๒๑ : ข้อคิดและทิศทางเพื่อการพัฒนาครูไทย” ซึ่งทบทวนความรู้สากลมาได้กว้างขวาง แต่ยังเก็บข้อมูลของไทยมาได้น้อย โดยข้อสรุปที่สำคัญยิ่งที่ได้จากการทบทวนความรู้ของ ดร. จุฬากรณ์ คือยุทธศาสตร์สำคัญที่สุดของการพัฒนาการศึกษาที่เวลานี้ใช้กันทั่วโลก คือเน้นที่การพัฒนาครู
ที่จริงเมื่อจบการประชุมวันแรก ผมก็มีความสุขมาก ที่เห็นช่องทางการพัฒนาครูไทยชัดเจนแจ๋วแหวว ตามมุมมองของผม ซึ่งเป็นการมองหลักการ ส่วนการดำเนินการจริงนั้น สิ่งน่าหนักใจคือยุทธศาสตร์ Change Management หรืออุปสรรคในการเปลี่ยนแปลงระบบนั่นเอง
ในการประชุมวันที่ ๒ ผมจึงฟันธงเสนอที่ประชุม ว่าวิธีพัฒนาครูไทยที่จะให้ได้ผลต้องเริ่มที่การให้คุณ (reward) แก่ครู ผ่านผลงานการยกระดับผลสัมฤทธิ์ในการเรียน (Learning Outcomes) ของศิษย์ โดยหน่วยงานต้นสังกัดและโครงการพิเศษต่างๆ เข้าไปส่งเสริม(empower)ให้ครู โรงเรียน เขตพื้นที่การศึกษา หรือชุมชน ที่รวมตัวกันทำแผนยุทธศาสตร์และดำเนินการยกระดับผลสัมฤทธิ์ในการเรียนของนักเรียน
การ empower ดังกล่าวทำโดยส่งเสริมการเรียนรู้ของครู ให้ทำหน้าที่ครูในศตวรรษที่ ๒๑ ได้ดีขึ้น ให้ครูรวมตัวกันเรียนรู้จากการทำงานประจำ คือหน้าที่ครูในศตวรรษที่ ๒๑ ซึ่งต้องไม่เน้นสอนสาระวิชา แต่เน้นสร้างแรงบันดาลใจ และอำนวยความสะดวกในการเรียนแบบลงมือทำของนักเรียน การรวมตัวกันเรียนรู้จากการทำหน้าที่ครูนี้ เรียกว่า PLC (Professional Learning Community)
จะให้รางวัลแก่ครูได้ ต้องมีหลักฐานว่าครูได้ทำหน้าที่ยกระดับผลสัมฤทธิ์ในการเรียนของศิษย์ได้ผลดีกว่าเดิมจริง ซึ่งทางกระทรวงศึกษาฯ ได้มีดำริว่า จะผูกโยงเงินเดือนครูเข้ากับคะแนนการทดสอบมาตรฐานของศิษย์ และในวงเสวนาเมื่อวันที่ ๑๙ พ.ย. ครูและ ผอ. สถานศึกษาหลายแห่งมาบอกว่าเป็นวิธีคิดที่ตื้นเขินเกินไป เพราะการทดสอบมาตรฐานนั้น วัดเพียง ๑ ด้านใน ๔ ด้านของการเรียนรู้เท่านั้น นอกจากนั้นเด็กนักเรียนของต่างโรงเรียนอาจมีขีดความสามารถหรือพื้นฐานแตกต่างกันมาก จากการประชุม ผมคิดว่า ได้มติที่ชัดว่า ควรผูกโยงเงินเดือนหรือการให้คุณแก่ครูและผู้บริหารการศึกษา เข้ากับผลสัมฤทธิ์ในการเรียนของนักเรียนที่ตนรับผิดชอบ โดยมีวิธีวัดผลสัมฤทธิ์ที่รอบด้าน และดูที่ผลสัมฤทธิ์ที่เพิ่มขึ้นจากฐานเดิม ซึ่งผมคิดว่าต้องมีวิธีวัดทักษะ (แห่งศตวรรษที่ ๒๑) สำคัญ รวมทั้งให้ครูมีส่วนสร้างสรรค์วิธีวัดผลสัมฤทธิ์ด้านที่เป็นามธรรม และด้านคุณลักษณะด้วย
นั่นหมายความว่า กระทรวงศึกษาฯ ต้องเลิกคิดพัฒนาครูโดยการจับมาเข้าหลักสูตรฝึกอบรมตามที่ตนจัด ควรเอาเงินจำนวนนั้นไปสนับสนุนการจัดกิจกรรม PLC ของครู คือต้องพัฒนาครูโดยเน้นที่ Learning ไม่ใช่ที่ Training หรือใช้ในสัดส่วน Learning : Training = 80-90 : 10-20 และส่วน Training นั้น ให้ตัวครูเองเป็นผู้ตัดสินใจบอกความต้องการเองว่าต้องการเรียนอะไร จากหลักสูตรฝึกอบรมใด
Learning ในที่นี้คือ in-service learning หรือ PLC นั่นเอง
ผมได้เสนอที่ประชุมว่า เรื่องการพัฒนาครูในภาพใหญ่นั้น น่าจะพิจารณาสถาบันผลิตครู ซึ่งก็คือคณะศึกษาศาสตร์ ครุศาสตร์ นั่นเอง ผมคิดว่า สถาบันเหล่านี้ที่มีอยู่ในปัจจุบัน เป็นรูปแบบของสถาบันผลิตครูแห่งศตวรรษที่ ๒๐ เวลานี้ประเทศที่ครูมีคุณภาพเขาไม่ได้ผลิตครูแบบที่เราทำกันแล้ว และตัวสถาบันเขาก็เปลี่ยนแปลงไปมากมาย เป็นสถาบันผลิตครูแห่งศตวรรษที่ ๒๑ แต่ของเรายังคงที่ยึดมั่นอยู่กับรูปแบบของศตวรรษที่ ๒๐
ผมเสนอในย่อหน้าบนด้วยความเจียมตนว่าอาจเป็นความเห็นที่ผิด แต่ท่าน ศ. สุมน อมรวิวัฒน์ ท่านบอกว่า ท่านเสนอตามที่ผมพูดเป๊ะตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๕ แต่ไม่มีคนยอมทำตาม
สรุปอีกทีว่า การพัฒนาครูในศตวรรษที่ ๒๑ ต้องเน้นที่การเรียนรู้ของครู ที่เป็นการเรียนรู้จากการทำหน้าที่ครูโดยตรง เพื่อให้ทำหน้าที่ครูได้ผลดีขึ้น โดยวัดที่ผลการเรียนของศิษย์ เน้นที่การเรียนให้ได้ทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑
ที่มา: http://lripsm.wix.com/21st#!-21/c6he
สอนอย่างไรในศตวรรษที่ 21
ครูแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ต้องช่วยแก้ไขความรู้ผิดๆ ของนักเรียน
โดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช
๒๔ ธ.ค. ๕๕
การเป็นครูแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ต้องฝืนใจ ๒ ต่อ คือ (๑) ฝืนใจไม่บอกสาระความรู้แก่ศิษย์
และ (๒) ฝืนใจทำหน้าที่ที่ไม่เคยทำ คือหน้าที่ ช่วยศิษย์สลัดความรู้ผิดๆ ออกไปจากตัว
ครูแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ต้องช่วยแก้ไขความรู้ผิดๆ ของนักเรียน
ผมปิ๊งแว้บจากการอ่านและตีความหนังสือ How Learning Works : Seven Research-Based Principles for Smart Teaching ที่ผมเตรียมตีความลง บล็อก ๑๖ ตอน และลงตอนที่ ๑ ไปแล้วเมื่อวานซืน อ่านได้ที่บันทึกที่เกี่ยวข้องข้างล่าง
ผมตีความว่า ต้นตอของเรื่องนี้เริ่มที่โลกเปลี่ยน สังคมเปลี่ยน ทำให้เด็กเปลี่ยน เด็กสมัยนี้ไม่ได้เรียนความรู้และข้อมูลสำคัญเฉพาะจากโรงเรียนอีกต่อไป หรือกล่าวให้หนักยิ่งขึ้นได้ว่า สมัยนี้นักเรียนรับความรู้จากโรงเรียนเป็นแหล่งรอง ไม่ใช่แหล่งหลัก แหล่งหลักคือเขารับจากสังคมโดยรอบ โดยเฉพาะจากสื่อมวลชน และ อินเทอร์เน็ต
ความรู้จากแหล่งต่างๆ นอกโรงเรียนนั้น เด็กรับมาอย่างถูกต้องบ้าง รับมาแบบเข้าใจผิดบ้าง และที่ร้ายกว่านั้น คือความรู้บางส่วนเด็กรับมาอย่างถูกต้อง แต่ความรู้นั้นมันผิด เด็กนักเรียนในสมัยแห่งข้อมูลข่าวสารอุดมสมบูรณ์จึงมีทั้งความรู้ที่ถูกต้อง และความรู้ผิดๆ อยู่ในสมอง ต่างจากเด็กสมัย ๖๐ ปีก่อนอย่างผม ที่ความรู้หายาก ต้องไปเรียนจากโรงเรียน และโรงเรียนก็มีหน้าที่เติมความรู้ให้แก่เด็ก ไม่ต้องสนใจเลยว่าเด็กจะมีพื้นความรู้ผิดๆ ติดตัวมา
วิชาการด้านความเป็นครูสมัยใหม่ (ใหม่เอี่ยม จากหนังสือที่อ้างแล้ว ซึ่งมาจากการสังเคราะห์ผลงานวิจัย) บอกว่า ครูสมัยใหม่นอกจากไม่มีหน้าที่เติมความรู้แก่ศิษย์แล้ว ยังต้องช่วยให้เด็กสลัดความรู้ผิดๆ ออกจากหัว (สมอง) อีกด้วย
จะเห็นว่า การเป็นครูแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ต้องฝืนใจ ๒ ต่อ คือ (๑) ฝืนใจไม่บอกสาระความรู้แก่ศิษย์ และ (๒) ฝืนใจทำหน้าที่ที่ไม่เคยทำ คือหน้าที่ช่วยศิษย์สลัดความรู้ผิดๆ ออกไปจากตัว
โปรดสังเกตว่าในการทำหน้าที่ทั้งสองอย่างนี้ ครูไม่ใช่ผู้ลงมือทำ ผู้ลงมือทำคือตัวเด็กเอง ครูเป็นเพียงผู้ช่วย หรือ “คุณอำนวย” แต่ถ้าครูไม่ทำหน้าที่นี้ ศิษย์ก็จะไม่สามารถ Learn ตามข้อ ๑ และ Delearn ตามข้อ ๒ ได้
แต่เมื่อครูทำหน้าที่ดังกล่าว ศิษย์ก็จะได้ทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ที่สำคัญ คือ Learning Skills และ Delearning Skills ไปพร้อมกัน
โดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช
๒๔ ธ.ค. ๕๕
การเป็นครูแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ต้องฝืนใจ ๒ ต่อ คือ (๑) ฝืนใจไม่บอกสาระความรู้แก่ศิษย์
และ (๒) ฝืนใจทำหน้าที่ที่ไม่เคยทำ คือหน้าที่ ช่วยศิษย์สลัดความรู้ผิดๆ ออกไปจากตัว
ครูแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ต้องช่วยแก้ไขความรู้ผิดๆ ของนักเรียน
ผมปิ๊งแว้บจากการอ่านและตีความหนังสือ How Learning Works : Seven Research-Based Principles for Smart Teaching ที่ผมเตรียมตีความลง บล็อก ๑๖ ตอน และลงตอนที่ ๑ ไปแล้วเมื่อวานซืน อ่านได้ที่บันทึกที่เกี่ยวข้องข้างล่าง
ผมตีความว่า ต้นตอของเรื่องนี้เริ่มที่โลกเปลี่ยน สังคมเปลี่ยน ทำให้เด็กเปลี่ยน เด็กสมัยนี้ไม่ได้เรียนความรู้และข้อมูลสำคัญเฉพาะจากโรงเรียนอีกต่อไป หรือกล่าวให้หนักยิ่งขึ้นได้ว่า สมัยนี้นักเรียนรับความรู้จากโรงเรียนเป็นแหล่งรอง ไม่ใช่แหล่งหลัก แหล่งหลักคือเขารับจากสังคมโดยรอบ โดยเฉพาะจากสื่อมวลชน และ อินเทอร์เน็ต
ความรู้จากแหล่งต่างๆ นอกโรงเรียนนั้น เด็กรับมาอย่างถูกต้องบ้าง รับมาแบบเข้าใจผิดบ้าง และที่ร้ายกว่านั้น คือความรู้บางส่วนเด็กรับมาอย่างถูกต้อง แต่ความรู้นั้นมันผิด เด็กนักเรียนในสมัยแห่งข้อมูลข่าวสารอุดมสมบูรณ์จึงมีทั้งความรู้ที่ถูกต้อง และความรู้ผิดๆ อยู่ในสมอง ต่างจากเด็กสมัย ๖๐ ปีก่อนอย่างผม ที่ความรู้หายาก ต้องไปเรียนจากโรงเรียน และโรงเรียนก็มีหน้าที่เติมความรู้ให้แก่เด็ก ไม่ต้องสนใจเลยว่าเด็กจะมีพื้นความรู้ผิดๆ ติดตัวมา
วิชาการด้านความเป็นครูสมัยใหม่ (ใหม่เอี่ยม จากหนังสือที่อ้างแล้ว ซึ่งมาจากการสังเคราะห์ผลงานวิจัย) บอกว่า ครูสมัยใหม่นอกจากไม่มีหน้าที่เติมความรู้แก่ศิษย์แล้ว ยังต้องช่วยให้เด็กสลัดความรู้ผิดๆ ออกจากหัว (สมอง) อีกด้วย
จะเห็นว่า การเป็นครูแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ต้องฝืนใจ ๒ ต่อ คือ (๑) ฝืนใจไม่บอกสาระความรู้แก่ศิษย์ และ (๒) ฝืนใจทำหน้าที่ที่ไม่เคยทำ คือหน้าที่ช่วยศิษย์สลัดความรู้ผิดๆ ออกไปจากตัว
โปรดสังเกตว่าในการทำหน้าที่ทั้งสองอย่างนี้ ครูไม่ใช่ผู้ลงมือทำ ผู้ลงมือทำคือตัวเด็กเอง ครูเป็นเพียงผู้ช่วย หรือ “คุณอำนวย” แต่ถ้าครูไม่ทำหน้าที่นี้ ศิษย์ก็จะไม่สามารถ Learn ตามข้อ ๑ และ Delearn ตามข้อ ๒ ได้
แต่เมื่อครูทำหน้าที่ดังกล่าว ศิษย์ก็จะได้ทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ที่สำคัญ คือ Learning Skills และ Delearning Skills ไปพร้อมกัน
ที่มา: http://lripsm.wix.com/21st#!-21/c6he
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)