วันเสาร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ทักษะแห่งอนาคต

ครูต้องไม่สอน แต่ต้องออกแบบการเรียนรู้

และอำนวยความสะดวก (Facilitate)

การเรียนรู้ให้นักเรียนเรียนรู้

จากการเรียนแบบลงมือทำ หรือปฏิบัติแล้ว

การเรียนรู้ก็จะเกิดจากภายในและสมองของตนเอง การเรียนรู้แบบนี้เรียกว่า

PBL (Project-Based Learning)


ศตวรรษที่ 21 สถานการณ์โลกมีความแตกต่างจากศตวรรษที่ 20 และ 19

ระบบการศึกษา ต้องมีการพัฒนาเพื่อให้สอดคล้องกับภาวะความเป็นจริง

ในประเทศสหรัฐอเมริกาแนวคิดเรื่อง "ทักษะแห่งอนาคตใหม่:

การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21" ได้ถูกพัฒนาขึ้น โดยภาคส่วนที่เกิดจากวงการนอกการศึกษา ประกอบด้วย บริษัทเอกชนชั้นนำขนาดใหญ่ เช่น บริษัทแอปเปิ้ล บริษัทไมโครซอฟ บริษัทวอล์ดิสนีย์ องค์กรวิชาชีพระดับประเทศ และสำนักงานด้านการศึกษาของรัฐ รวมตัวและก่อตั้งเป็นเครือข่ายองค์กรความร่วมมือเพื่อทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (Partnership for 21st Century Skills) หรือเรียกย่อๆว่า เครือข่าย P21



หน่วยงานเหล่านี้มีความกังวลและเห็นความจำเป็นที่เยาวชนจะต้องมีทักษะสำหรับการออกไปดำรงชีวิตในโลกแห่งศตวรรษที่ 21 ที่เปลี่ยนไปจากศตวรรษที่ 20 และ 19 จึงได้พัฒนาวิสัยทัศน์และกรอบความคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21ขึ้น สามารถสรุปทักษะสำคัญอย่างย่อๆ ที่เด็กและเยาวชนควรมีได้ว่า ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม หรือ 3R และ 4C ซึ่งมีองค์ประกอบดังนี้


3 R ได้แก่ Reading (การอ่าน), การเขียน(Writing) และ คณิตศาสตร์ (Arithmetic) และ
4 C (Critical Thinking - การคิดวิเคราะห์, Communication- การสื่อสาร Collaboration-การร่วมมือ และ Creativity-ความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงทักษะชีวิตและอาชีพ และทักษะด้านสารสนเทศสื่อและเทคโนโลยี และการบริหารจัดการด้านการศึกษาแบบใหม่

นอกจากนี้ยังมีนักการศึกษาอีกท่านหนึ่งที่มีส่วนสำคัญในการผลักดันเรื่องการฎิรูปการเรียนรู้ดังกล่าวให้กว้างขวางขึ้น คือ เซอร์เคน โรบินสัน นักการศึกษาระดับโลก โดยได้เน้นยำ้ถึงความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงแนวคิดการจัดการศึกษาระบบโรงงาน มาเป็นการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้คิดอย่างสร้างสรรค์และเข้ากับบริบทของโลกที่ได้เปลี่ยนแปลงไป ชมแอนิเมชั่นด้านบน การเปลี่ยนแปลงแนวคิดด้านการศึกษาในศตวรรษที่ 21 (Changing Education Paradigms) โดย เซอร์เคน โรบินสัน



กรอบแนวคิดข้างต้นเองก็เป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาทักษะแห่งอนาคตใหม่ในประเทศไทยและท่านที่ริเริ่มและมีบทบาทสำคัญในการผลักดันได้แก่ ศ.นพ. วิจารณ์ พานิช โดยท่านได้เขียนลงบล็อก http://www.gotoknow.org อยู่เป็นประจำ รวมถึงได้เขียนหนังสือออกมาชื่อว่า วิถีสร้างการเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21



ที่มา : มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์




ครูต้องไม่สอน แต่ต้องออกแบบการเรียนรู้

และอำนวยความสะดวก (Facilitate)

การเรียนรู้ให้นักเรียนเรียนรู้

จากการเรียนแบบลงมือทำ หรือปฏิบัติแล้ว

การเรียนรู้ก็จะเกิดจากภายในและสมองของตนเอง การเรียนรู้แบบนี้เรียกว่า

PBL (Project-Based Learning)




Project Based Learning
In Project Based Learning (PBL), students go through an extended process of inquiry in response to a complex question, problem, or challenge. While allowing for some degree of student "voice and choice," rigorous projects are carefully planned, managed, and assessed to help students learn key academic content, practice 21st Century Skills (such as collaboration, communication & critical thinking), and create high-quality, authentic products & presentations.



Rigorous and in-depth Project Based Learning:

is organized around an open-ended Driving Question or Challenge. These focus students’ work and deepen their learning by centering on significant issues, debates, questions and/or problems.
creates a need to know essential content and skills. Typical projects (and most instruction) begin by presenting students with knowledge and concepts and then, once learned, give them the opportunity to apply them. PBL begins with the vision of an end product or presentation which requires learning specific knowledge and concepts, thus creating a context and reason to learn and understand the information and concepts.
requires inquiry to learn and/or create something new. Not all learning has to be based on inquiry, but some should. And this inquiry should lead students to construct something new – an idea, an interpretation, a new way of displaying what they have learned.
requires critical thinking, problem solving, collaboration, and various forms of communication. Students need to do much more than remember information—they need to use higher-order thinking skills. They also have to learn to work as a team and contribute to a group effort. They must listen to others and make their own ideas clear when speaking, be able to read a variety of material, write or otherwise express themselves in various modes, and make effective presentations. These skills, competencies and habits of mind are often known as "21st Century Skills".
allows some degree of student voice and choice. Students learn to work independently and take responsibility when they are asked to make choices. The opportunity to make choices, and to express their learning in their own voice, also helps to increase students’ educational engagement.
incorporates feedback and revision. Students use peer critique to improve their work to create higher quality products.
results in a publicly presented product or performance. What you know is demonstrated by what you do, and what you do must be open to public scrutiny and critique.
~provided by the Buck Institute for Education


Project-Based Learning


ทักษะดิจิตอลสำหรับครูศตวรรษที่ 2




เป็นผลเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ในปัจจุบันทำให้เกิดแนวคิดใหม่ทางการศึกษามากมายอย่างที่ไม่คาดคิดมาก่อน นักเรียนต่างให้ความสนใจกับเทคโนโลยีดิจิตอลมากกว่าครั้งใดๆ ที่ผ่านมา พวกเขาใช้เวลากับสิ่งเหล่านั้นมากกว่ากับผู้ปกครองหรือคนใกล้ชิดเสียอีก ซึ่งต้องยอมรับกันว่าการเกิดขึ้นของเทคโนโลยีมีผลทั้งทางบวกและทางลบต่อนักเรียน ที่ให้ผลในทางลบที่พึงใส่ใจ เช่น ขาดความเอาใจใส่ ช่วงความสนใจสั้น ใจลอย หมกมุ่น ขาดปฏิสัมพันธ์ทางสังคม เก็บตัว ซึมเศร้า และอื่นๆ อีกมาก แต่อย่างไรก็ตาม ผลในทางบวกก็มีเช่นกัน เป็นเหรียญอีกด้านหนึ่งที่ต้องยอมรับความจริงกันว่าการสอนในโลกปัจจุบันจะต้องแตกต่างไปจากศตวรรษที่ผ่านมา ดังนั้นครูในศตวรรษที่ 21 ควรมีทักษะดิจิตอล (digital skills) ดังนี้

ทักษะการใช้โปรแกรม “digital voice editor” เช่น บันทึกข้อความใน IC recorder ลงฮาร์ดดิสก์ของคอมพิวเตอร์ หรือการบันทึกไฟล์เสียงจากคอมพิวเตอร์ลง IC recorder เล่นและตัดต่อข้อความลงคอมพิวเตอร์ หรือการส่งข้อความที่เป็นอีเมล์เสียงโดยใช้ซอฟแวร์ MAPI อีเมล์ เป็นต้น
ทักษะการจัดเก็บ URL / รายชื่อเว็บที่สนใจไว้เป็นหมวดหมู่และแลกเปลี่ยนกับผู้เรียน
ทักษะการใช้ “blog” และ “wiki” เพื่อสร้างระบบออนไลน์สำหรับนักเรียน
ทักษะการจับภาพจากสิ่งแวดล้อมหรือทำสำเนาภาพจากเอกสารให้อยู่ในรูปแบบของอิเล็กทรอนิกส์ เช่น รูปถ่าย เอกสารที่เขียนด้วยมือ หรือเอกสารพิมพ์ เป็นต้น เพื่อนำมาใช้ในห้องเรียน
ทักษะการสร้างเนื้อหาวิดีโอกระตุ้นความสนใจของนักเรียน
ทักษะเกี่ยวกับ “infographics” คือ การเอาข้อมูลที่เข้าใจยากหรือข้อมูลจำนวนมากมานำเสนอในรูปแบบต่างๆ อย่างสร้างสรรค์
ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อการสื่อสารและพัฒนาวิชาชีพ
ทักษะการสร้างรูปแบบการฝึกอบรมหรือการเรียนรู้ที่ผู้สอนและผู้เรียนไม่จำเป็นต้องพบกันตามเวลาในตารางที่กำหนดไว้ (synchronous learning) แต่สามารถติดต่อกันได้ตลอดเวลา โดยใช้เครื่องมือสื่อสารต่าง ๆ ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของเวลา และสถานที่ ผู้เรียนสามารถเรียนที่ไหนเวลาใดก็ได้ (anywhere anytime)
ทักษะในการสร้างและเผยแพร่แฟ้มสะสมงาน (portfolio) ในระบบออนไลน์ผ่านทางอินเตอร์เน็ต สำหรับบุคคลและองค์กรต่างๆ ที่ต้องการสะสมผลงาน เพื่อเก็บไว้เป็นข้อมูลสำหรับการนำเสนอ ตรวจสอบการเรียนรู้หรือการทำงานว่าประสบผลสำเร็จระดับใด
มีความรู้เกี่ยวกับระบบปกป้องความปลอดภัยในระบบออนไลน์
สามารถป้องกันการลอกเลียนแบบงานที่มอบหมายให้นักเรียน
ทักษะในการทำวีดีโอสอนและแบบฝึกสอนต่างๆ
ทักษะการเขียนและเรียบเรียงบทความสำหรับเว็บไซด์เพื่อการสอน
สามารถใช้ “task management tools” เพื่อการวางแผนและการเรียนรู้
สามารถใช้ “polling software” เพื่อสำรวจชั้นเรียน
เข้าใจประเด็นเกี่ยวกับลิขสิทธิ์และกติกาที่ใช้ในออนไลน์
ใช้เกมส์คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอน
สามารถใช้เครื่องมือการประเมินดิจิตอล
สามารถใช้ “collaborative tools” เพื่อจัดทำตำราหรือการปรับแก้ไขตำรา
สามารถค้นหาและประเมินเนื้อหาที่ปรากฏตามเว็บต่างๆ
สามารถใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ เช่น แท็ปเล็ต (tablet)
แนะนำแหล่งข้อมูลออนไลน์ที่ดีให้นักเรียนค้นหา
สามารถใช้เครื่องดิจิตอลเพื่อการบริหารเวลา
วิธีการใช้รูปแบบต่างๆ ของ “YouTube” ในห้องเรียน
ใช้ “note taking tools” เพื่อแลกเปลี่ยนเนื้อหากับนักเรียน
สามารถใช้ “annotation” คือ การใส่ตัวอักษร ลูกศร หรือเครื่องหมายสัญลักษณ์ต่าง ๆ เพื่อแสดงจุดสนใจบนภาพ / PDF หรือในเนื้อหา
สามารถใช้โปรแกรมจัดภาพ โปรแกรม หรือแผนภาพ และพิมพ์ออกมา
สามารถใช้ “online sticky notes” เพื่อแสดงแนวคิดที่น่าสนใจ
สามารถใช้ “screen casting tools” เพื่อการเรียนการสอน
สามารถใช้ “group text messaging tools” เพื่อจัดทำโครงงานร่วมมือออนไลน์
สามารถตั้งประเด็นเพื่อการสืบค้นโดยใช้เวลาน้อยเท่าที่จะทำได้
สามารถทำเอกสารงานวิจัยโดยเครื่องมือดิจิตอล
สามารถใช้ “file sharing tools” แลกเปลี่ยนไฟล์กับนักเรียนแบบออนไลน์
Kharbach, M. (2012). The 33 digital skills every 21st century teacher should have. Retreived January 18, 2013 from http://www.educatorstechnology.com/2012/06/33-digital-skills-every-21st-century.html



ที่มาข้อมูล : http://wirot.edublogs.org หนังสือ “กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษา: กรณีทัศนะต่อการศึกษาศตวรรษที่ 21 – 2556″ (ต้นฉบับร่างขอบข่ายเนื้อหา)



Source: http://educationtechnologysolutions.com.au/2012/07/13/cyberchat-21st-century-teachers-and-digital-parents/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น